Monday, December 11, 2023

Horned Moons and Savage Santas

-

ในบรรดาหนังสือที่เกี่ยวกับชีวิตกลางแจ้งที่ผมได้เคยอ่านมา ผมคิดว่าเล่มนี้น่าจะเด็ดที่สุดแล้วครับ

Horned Moons and Savage Santas รวบรวมเอา 45 บทความที่คัดสรรแล้วจากฝีมือของนักเขียนชั้นสุดยอดของโลกกลางแจ้งหลายยุคหลายสมัย บางคนอาจจะเป็นนักเขียนที่โด่งดังเป็นที่รู้จักอย่าง Ernest Hemingway,  Robert Ruark, Jack O’Connor แต่หลายคนก็เป็นนักเขียนที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน กระทั่งว่า มีบางบทความที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เขียน

แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกบทความในหนังสือเล่มนี้คล้ายกันก็คือมันล้วนแต่งดงามลึกซึ้ง จนทำให้ถ้อยคำที่ส่งผ่านตัวหนังสือ ผ่านกาลเวลา พิมพ์ลงกระดาษมานี้สามารถส่งผ่านอารมณ์และความรู้สึกจากผู้เขียนมาถึงเราที่เป็นผู้อ่านได้

บทความในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการตกปลา ล่าสัตว์ แต่ไม่เลย มันไม่ใช่การเล่าเรื่อง ความตื่นเต้น ความหื่นกระหายที่จะได้พิชิต Trophy ที่อาจจะใหญ่ติดอันดับโลก หลายๆเรื่องไม่มีเสียงปืนดังเลยด้วยซ้ำ  ทุกเรื่องกลับบรรยายถึงความรู้สึกที่พวกเขา (ผู้เขียน) มีต่อธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเราอ่านแล้วจะรับรู้ได้เลยว่าความรู้สึกนั้นคือความรักที่ลึกซึ้ง

ผมพอจะพูดได้ว่า ผมอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตกลางแจ้งมาไม่น้อย ทั้งหนังสือไทยและหนังสือต่างประเทศ และผมก็พบว่า หนังสือที่สื่อเล่าเรื่องราวของธรรมชาติได้ลึกซึ้งงดงามที่สุดคือเรื่องที่เขียนโดยนักเขียนตกปลาหรือล่าสัตว์ โดยเฉพาะคนที่ก้าวข้ามการล่าทั่วๆไปแล้ว จนสามารถไปถึงการล่าเพื่ออนุรักษ์ หรืออนุรักษ์เพื่อการล่า ต่างจากงานเขียนแนวอื่นๆที่มักจะเล่าเรื่องการเดินทางอย่างผิวเผิน, เรื่องเกี่ยวกับตัวคนเขียน หรือเรื่องราวการพิชิตต่างๆ

นั่นอาจจะเป็นเพราะคนที่มีโอกาสได้ออกไปตกปลาล่าสัตว์ในประเทศที่เขาประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์นั้น หากจะทำได้ดีจะต้องใช้เวลามากมายอยู่ท่ามกลางป่าหรือลำน้ำจนเข้าใจสัตว์ป่าที่เขาต้องการล่า,​ปลาที่เขาต้องการตก และธรรมชาติที่มันอาศัยอยู่อย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญที่สุด เมื่อเขาได้เข้าใจและก้าวพ้นความต้องการพื้นฐานที่จะล่าไปแล้ว เขาก็จะหลงรักธรรมชาติอย่างจริงจัง เข้าใจมันในมิติที่ลึกซึ่งกว่าคนที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัน ไปจนถึงพร้อมที่จะทุ่มเทแรงกาย กำลังเงินเท่าที่จะทำได้เพื่อจะปกป้องให้ธรรมชาตินั้นคงอยู่เพื่อให้เขาได้มีโอกาสตกปลาหรือล่าสัตว์ต่อไป

ในสังคมไทย โดยเฉพาะในสังคมเมือง เราถูกสั่งสอนกันมาตั้งแต่เด็กว่าการตกปลาล่าสัตว์เป็นบาป เป็นสิ่งเลวร้าย เป็นการทำลายธรรมชาติ 

แต่ผมเริ่มมีความคิดที่ว่า ความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมาด้านเดียวนี้แหละคือต้นเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้การอนุรักษ์ของเราล้มเหลว จนทำให้เราสูญเสียธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่า, ทะเล, สัตว์ป่า, สัตว์น้ำไปจนแทบจะไม่มีเหลือ 

เพราะความเชื่อนี้ทำให้เราอนุรักษ์ด้วยการกันคนให้ห่างออกจากธรรมชาติ  ไม่ให้โอกาสให้คนได้สัมผัสและรักธรรมชาติอย่างแท้จริง เราไม่เคยคิดไม่เคยเรียนรู้ที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดไปเหล่านี้ให้ยั่งยืน 

เมื่อไม่มีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น ก็คงจะไม่มีใครสักกี่คนในสังคมนี้ที่จะทุ่มเทแรงกาย เสียสละโอกาส และร่วมลงทุนที่จะรักษาธรรมชาติไว้ เอาเข้าจริงคนส่วนใหญ่ก็เพียงพูดตามๆกันไปว่ารักธรรมชาติ แต่ไม่ลงมือทำอะไร และไม่แคร์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับธรรมชาติ

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงตั้งคำถาม บางคนอาจจะด่าผมอยู่ในใจว่าทำไมผมถึงคิดชื่นชมการตกปลาล่าสัตว์ว่าจะช่วยการอนุรักษ์ได้ 

ผมอยากให้ลองคิดเสียอย่างนี้ครับ ว่าถ้าเรายอมรับกันว่าการอนุรักษ์ในบ้านเรานั้นกำลังเดินไปในทางที่ล้มเหลว เราก็ควรเปิดใจรับฟัง เปิดใจที่จะสนทนาหารือกันถึงแนวทางที่แตกต่างไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางที่ประสบความสำเร็จในที่อื่นๆ ซึ่งผมอยากจะชวนคุยกันในครั้งต่อๆไป

บางทีหนังสือดีๆ อย่าง Horned Moons & Savage Santas อาจจะพอสร้างความเข้าใจได้สักเล็กน้อย ก่อนที่เราจะมานั่งคุยกันครับ

ตาเกิ้น

ก่อนรุ่งสางของวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ณ บ้านกอปรสุข

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

คุ้มครองแต่ไม่เคยให้คุณค่า ตอน นกกรงหัวจุก

ผมเฝ้ามองการโต้เถียงกับเรื่องนกกรงหัวจุกหรือนกปรอดหัวโขน ระหว่างฝ่ายผู้เลี้ยงนกและ “นักอนุรักษ์” มาพักใหญ่แล้วในเรื่องว่า จะให้นกกรงหัวจุกคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือจะปลดออก หลายคนคงมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่หาทางออกไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเราเปิดใจมองร่วมกันและยอมรับวิธีคิดใหม่ๆ (ที่ประเทศอื่นเขาทำกันมานานแล้ว) เรื่องของนกกรงหัวจุกอาจจะเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงให้การอนุรักษ์ของประเทศนี้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียทีนะครับ ก่อนจะเข้าเรื่องนกกรงหัวจุก ผมขอเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งมองว่ามันไม่เกี่ยวกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า พี่น้องสองคนทะเลาะกันเพราะแย่งส้มผลสุดท้ายในบ้าน ถึงขั้นตบตีกัน เสียงดังไปถึงแม่ แม่พยายามเจรจาให้แบ่งกันคนละครึ่งลูกก็ไม่มีใครยอม ต่างคนต่างบอกว่าต้องใช้ทั้งลูก นานเข้าพ่อที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ทนรำคาญเสียงไม่ได้ จึงเดินมาแยกลูกสาวทั้งสองที่เริ่มจะจิกหัวฟัดกันให้ตายไปข้างหนึ่ง แล้วถามรายละเอียด บอกพ่อหน่อยว่าจะเอาส้มไปทำอะไร  คนพี่สาวก็บอกว่าจะทำแยมส้ม ส่วนน้องสาวบอกจะทำน้ำส้ม เมื่อคุยกันเช่นนี้พ่อก็ปอกเปลือกส้มให้ลูกสาวคนโตไปทำแยม แล้วก็เอาเนื้อส้มให้ลูกสาวคนเล็กไปคั้นน้ำ ลงตัวไปได้ทั้งสองคน ส่วนพ่อก็เอาเมล็ดส้มไปปลูกไว้ข้างบ้านต่อไปจะได้ไม่ต้องแย่งส้มผลสุดท้ายกันอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราคุยกันดีๆมันจะมีทางออกที่ไม่ต้องมีคนแพ้คนชนะ แต่มันจะมองไม่เห็นเวลาทะเลาะกันจนหน้ามืด ใครยังไม่ได้ติดตามข่าวยังไม่รู้เรื่องความขัดแย้งของนกกรงหัวจุก...

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

Most Popular

%d