Monday, December 11, 2023
HomeความคิดและมุมมองA Sand County Almanac และ เรื่องราวของ Aldo Leopold

A Sand County Almanac และ เรื่องราวของ Aldo Leopold

-

หนังสือเล่มเล็กๆที่ชื่อว่า A Sand County Almanac นี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับธรรมชาติที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยอ่านมา

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Aldo Leopold ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักอนุรักษ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อความคิดของวงการอนุรักษ์อเมริกันมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นหนังสือที่เขาเขียนขึ้นในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต

A Sand County Almanac เป็นงานเขียนที่บันทึกความงดงามของธรรมชาติรอบตัวในแต่ละเดือนแต่ละฤดูกาลที่เปลี่ยนไปของรอบปี ด้วยความช่างสังเกตและสุนทรีย์ของผู้เขียน ทำให้เขาสามารถนำเรื่องราวของธรรมชาติออกมาถ่ายทอดได้อย่างงดงาม ผนวกกับความสามารถในการเล่าเรื่องอย่างน่าติดตามและสำนวนในการเขียนหนังสือที่สละสลวย ทำให้ทุกบททุกย่อหน้าในหนังสือเล่มนี้ดึงเราเข้าไปสู่ห้วงของจินตนาการเพื่อให้เห็นภาพตามคำบรรยายเลยทีเดียว

Aldo Leopold นั้นเป็นคนที่เราจะอธิบายได้ยากมากว่าเขาคือ “อะไร” เพราะเขาเป็นทั้ง นักวิชาการด้านธรรมชาติ,​ พนักงานป่าไม้, นักอนุรักษ์, นักเขียน, นักตกปลา, นักล่าสัตว์, อาจารย์มหาวิทยาลัย,​ นักปรัชญา 

Aldo Leopold Preparing a Journal Note at the Shack in Sauk County, WI in 1946

Aldo Leopold เป็นผู้ที่คิด concept และผลักดันจนรัฐบาลอเมริกาประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์ที่เรียกว่าเขต Wilderness (ผมขอเรียกว่า เขตธรรมชาติพิสุทธิ์ อ่านเรื่องของ Wilderness ได้ที่บทความนี้ครับ) โดยมีเป้าหมายที่จะให้เป็นเขตที่ปราศจากการลุกล้ำของสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ (Civilization) เพื่อให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า, เป็นที่ศึกษาธรรมชาติในรูปแบบดั้งเดิม และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เพื่อให้ผู้คนได้เข้าไปสัมผัสธรรมชาติพิสุทธิ์และวิถีชีวิตดั้งเดิม (premitive lifestyle) ในฐานะที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

นอกจากนี้ Aldo Leopold ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของ Wildlife Management ศาสตร์แห่งการจัดการสัตว์ป่า เพื่อให้สัตว์ป่าดำรงค์อยู่ในธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และสามารถใช้ประโยชน์ “เก็บเกี่ยว” ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป ศาสตร์นี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การอนุรักษ์ของอเมริกาประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้ได้

Land Ethic คือบทความอีกหนึ่งของ Aldo Leopold ในหนังสือเล่มนี้ที่หลายคนกล่าวถึงว่าเป็นปรัชญาความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติที่ครบถ้วนลุ่มลึกที่สุดเรื่องหนึ่ง

Land Ethic เป็นการนำเสนอให้เปลี่ยนมุมมองของมนุษย์ต่อผืนแผ่นดินให้เปลี่ยนจากการ “ครอบครอง” และเอาชนะมาเป็นการมองผืนแผ่นดินและสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นเสมือนสมาชิกส่วนหนึ่งในสังคมที่จะต้องดูแลและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันแนวคิดนี้ก็ไม่ได้แยกคนออกมาจากธรรมชาติ แต่เสนอให้อยู่ร่วมเป็นระบนิเวศน์ที่พึ่งพากันอย่างสมดุลย์และยั่งยืน

ด้วยประสบการณ์ในการทำงานจริงหลากหลายด้านของเขาไม่ว่าจะในฐานะ นักตกปลา,​นักล่าสัตว์,​ นักอนุรักษ์, นักวิชาการ, ครู,​นักเขียนและนักปรัชญา ทำให้ Aldo Leopold มีมุมมองธรรมชาติที่กว้าง, ครบถ้วนและลุ่มลึกที่หาได้ยากมากในคนคนเดียว

Aldo Leopold ใช้เวลาถึง 12 ปีในช่วงสุดท้ายของชีวิตของเขา เขียนและปรุงแต่ง A Sand County Almanac เขาเขียนมันจากประสบการณ์ที่สะสมมา บ่มเพาะจนได้ที่ และกลั่นกรองออกมาในขณะที่ความคิดเริ่มจะตกตะกอนสงบนิ่ง เขามุ่งมั่นที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า “Conservation” ที่ลึกซึ้งกว่า คำว่า “อนุรักษ์” อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หนังสือเล่มนี้คือหนังสือที่ดีที่สุดที่เขาเขียน

Aldo Leopold ได้รับแจ้งจากสำนักพิมพ์ว่าจะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้เพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวขณะที่เข้าไปช่วยเพื่อนบ้านดับไฟป่า

A Sand County Almanac and Sketches Here and There ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1949 ถูกแปลไปตีพิมพ์อีก 14 ภาษา (เสียดายที่ยังไม่มีภาษาไทย) และตีพิมพ์ไปแล้วกว่า 2 ล้านเล่ม

แนะนำให้ลองหามาอ่านกันครับ แล้วความคิดคุณจะเปลี่ยนไปอีกมาก

Note: 

หนังสือเล่มนี้มีจำหน่ายที่ Kinokuniya https://thailand.kinokuniya.com/bw/9780195059281

และถ้าใครอยากอ่านในรูปแบบ E-Book ก็มีขายใน Amazon ครับ https://www.amazon.com/Sand-County-Almanac-Sketches-There-ebook/dp/B000SEKUM6/ref=tmm_kin_swatch_0?_encoding=UTF8&qid=1566962835&sr=8-2

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

1 COMMENT

Leave a Reply

LATEST POSTS

คุ้มครองแต่ไม่เคยให้คุณค่า ตอน นกกรงหัวจุก

ผมเฝ้ามองการโต้เถียงกับเรื่องนกกรงหัวจุกหรือนกปรอดหัวโขน ระหว่างฝ่ายผู้เลี้ยงนกและ “นักอนุรักษ์” มาพักใหญ่แล้วในเรื่องว่า จะให้นกกรงหัวจุกคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือจะปลดออก หลายคนคงมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่หาทางออกไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเราเปิดใจมองร่วมกันและยอมรับวิธีคิดใหม่ๆ (ที่ประเทศอื่นเขาทำกันมานานแล้ว) เรื่องของนกกรงหัวจุกอาจจะเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงให้การอนุรักษ์ของประเทศนี้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียทีนะครับ ก่อนจะเข้าเรื่องนกกรงหัวจุก ผมขอเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งมองว่ามันไม่เกี่ยวกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า พี่น้องสองคนทะเลาะกันเพราะแย่งส้มผลสุดท้ายในบ้าน ถึงขั้นตบตีกัน เสียงดังไปถึงแม่ แม่พยายามเจรจาให้แบ่งกันคนละครึ่งลูกก็ไม่มีใครยอม ต่างคนต่างบอกว่าต้องใช้ทั้งลูก นานเข้าพ่อที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ทนรำคาญเสียงไม่ได้ จึงเดินมาแยกลูกสาวทั้งสองที่เริ่มจะจิกหัวฟัดกันให้ตายไปข้างหนึ่ง แล้วถามรายละเอียด บอกพ่อหน่อยว่าจะเอาส้มไปทำอะไร  คนพี่สาวก็บอกว่าจะทำแยมส้ม ส่วนน้องสาวบอกจะทำน้ำส้ม เมื่อคุยกันเช่นนี้พ่อก็ปอกเปลือกส้มให้ลูกสาวคนโตไปทำแยม แล้วก็เอาเนื้อส้มให้ลูกสาวคนเล็กไปคั้นน้ำ ลงตัวไปได้ทั้งสองคน ส่วนพ่อก็เอาเมล็ดส้มไปปลูกไว้ข้างบ้านต่อไปจะได้ไม่ต้องแย่งส้มผลสุดท้ายกันอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราคุยกันดีๆมันจะมีทางออกที่ไม่ต้องมีคนแพ้คนชนะ แต่มันจะมองไม่เห็นเวลาทะเลาะกันจนหน้ามืด ใครยังไม่ได้ติดตามข่าวยังไม่รู้เรื่องความขัดแย้งของนกกรงหัวจุก...

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

Most Popular

%d