Monday, December 11, 2023

Kodachrome

-

ผมเพิ่งดูภาพยนต์เรื่อง Kadachome จบ สนุกครับ

ภาพยนต์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของเบน ช่างภาพผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากจนเป็นตำนานของช่างภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ (แสดงโดย Ed Harris ที่แสดงเก่งมาก) เขาป่วยเป็นมะเร็งในขั้นสุดท้าย และอยากจะเอาฟิล์ม Kodachome 4 ม้วนที่ถ่ายไว้นานมากแล้ว ไปล้างที่ Lab สุดท้ายใน Kansas ที่ยังเปิดให้บริการล้างฟิล์มชนิดนี้อยู่และกำลังจะต้องปิดบริการเพราะไม่มีเคมีที่จะใช้ล้างฟิล์มอีกต่อไป เขาติดต่อขอให้ลูกชายที่โกรธกันไม่พูดกันมาหลายสิบปีเป็นคนขับรถพาไปล้างฟิล์มที่นั่น พร้อมกับพยาบาลประจำตัวสาวสวย (อันนี้คงพอเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น)

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Kodacrome เป็นฟิล์มสไล์ดสีชนิดแรกๆที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างทั้งในการถ่ายภาพและภาพยนต์ ผลิตมาตั้งแต่ปี 1935 ภาพฟิล์มสไลด์จาก Kodachrome จะให้สีสวยงามจับอารมณ์มากแบบที่ไม่มีฟิล์มอะไรทำได้เหมือน และจะเก็บได้นานนับสิบๆปีโดยสีไม่ซีดจาง แต่มีข้อจำกัดว่าจะต้องล้างด้วยกรรมวิธีพิเศษซึ่งมีแล็บอยู่ไม่กี่แห่งในโลก (25 แห่งในช่วงที่เฟื้องฟูที่สุด)

Kodak เลิกผลิตฟิล์ม Kodachrome ในปี 2009 และ Lab ของ Kodak ก็ปิดตัวลงหมดสิ้น Lab สุดท้ายที่ยืนหยัดทำต่อและเหมาเอาน้ำยาเคมีจากสต็อคของ Kodak ไปหมดก็คือ Dwayne’s Photo ในเมือง Parsons รัฐ Kansas ซึ่งก็ทำได้มาจนถึงปลายปี 2010 ที่น้ำยาทุกอย่างหมดลง และในช่วงสุดท้ายของการล้างฟิล์มก็เกิดเรื่องคล้ายๆภาพยนต์เรื่องนี้ขึ้นมากมาย เพราะคนจากทั่วโลกล้วนขวนขวายนำ Kodachrome ที่พวกเขาถ่ายไว้มาล้างให้ทันกำหนด

ถ้าอยากอ่านเรื่องจริงเรื่องนี้อ่านได้ที่นี่ครับ https://www.nytimes.com/2010/12/30/us/30film.html

ในภาพยนต์เรื่องนี้มีบทสนทนาที่น่าสนใจหลายตอนครับ 

“พ่อน่าจะไม่สร้างปัญหาให้เราแบบนี้ถ้าหากพ่อถ่ายภาพดิจิตอล”

“เอ็งเคยจับนมปลอมไว้ในมือมั๊ย ไม่ว่าอะไรจะดูดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีทางจะเหนือกว่าของจริงได้หรอก

ยุคนี้ผู้คนถ่ายภาพมากมาย เป็นหมื่นๆล้านภาพ แต่ไม่มีสไลด์ ไม่มีรูปที่อัดออกมา มันก็แค่ข้อมูล แค่ฝุ่นผงอิเลคโทรนิค ต่อไปข้างหน้า ถ้าเขาขุดเราขึ้นมา ก็จะไม่มีรูปภาพอะไรให้เห็น ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีใครรู้ว่าเรามีชีวิตอยู่อย่างไร”

“You would have saved us all a lot of trouble if you shot digital.”

“Have you ever hold a pair of fake tits in your hand? No matter how good something looks. You can’t beat the real thing.

People are taking more picture now more than ever before. Billions of them. But there is no slides, no prints. They are just data. Electronic dust. Years from now, when they dig us up, there won’t be any picture to find. No record of who we were, how we lived.”

อีกตอนหนึ่งที่ผมประทับใจก็คือ เมื่อเบนถูกถามว่าคุณโกรธมั๊ยที่ฟิล์ม Kodachrome จะเลิกแล้ว 

เบนตอบว่า 

“ไม่โกรธหรอก แค่มีอาลัยอาวรณ์เล็กน้อย มันก็รู้กันอยู่แล้วว่าต้องเกิดขึ้น

เราล้วนแล้วแต่หวาดกลัวเวลา วิธีที่มันเคลื่อนตัวไป การจากไปของสิ่งต่างๆ นั่นก็คือเหตุผลที่เราเป็นช่างภาพ

เราเป็นนักอนุรักษ์นิยมโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เราถ่ายภาพเพื่อหยุดเวลา ตรึงเสี้ยวเวลานั้นให้อยู่ไปตลอดกาลนาน มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในแบบที่จับต้องได้”

คุณล่ะ ถ่ายภาพเพื่อเหตุผลเดียวกันมั๊ย

“We are all so frighten by time and the way it moves on, the way things disappear. That’s why we’re photographers.

We are preservationist by nature. We take picture to stop time. To commit moments to eternity. Human nature made tangible.”

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

คุ้มครองแต่ไม่เคยให้คุณค่า ตอน นกกรงหัวจุก

ผมเฝ้ามองการโต้เถียงกับเรื่องนกกรงหัวจุกหรือนกปรอดหัวโขน ระหว่างฝ่ายผู้เลี้ยงนกและ “นักอนุรักษ์” มาพักใหญ่แล้วในเรื่องว่า จะให้นกกรงหัวจุกคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือจะปลดออก หลายคนคงมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่หาทางออกไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเราเปิดใจมองร่วมกันและยอมรับวิธีคิดใหม่ๆ (ที่ประเทศอื่นเขาทำกันมานานแล้ว) เรื่องของนกกรงหัวจุกอาจจะเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงให้การอนุรักษ์ของประเทศนี้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียทีนะครับ ก่อนจะเข้าเรื่องนกกรงหัวจุก ผมขอเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งมองว่ามันไม่เกี่ยวกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า พี่น้องสองคนทะเลาะกันเพราะแย่งส้มผลสุดท้ายในบ้าน ถึงขั้นตบตีกัน เสียงดังไปถึงแม่ แม่พยายามเจรจาให้แบ่งกันคนละครึ่งลูกก็ไม่มีใครยอม ต่างคนต่างบอกว่าต้องใช้ทั้งลูก นานเข้าพ่อที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ทนรำคาญเสียงไม่ได้ จึงเดินมาแยกลูกสาวทั้งสองที่เริ่มจะจิกหัวฟัดกันให้ตายไปข้างหนึ่ง แล้วถามรายละเอียด บอกพ่อหน่อยว่าจะเอาส้มไปทำอะไร  คนพี่สาวก็บอกว่าจะทำแยมส้ม ส่วนน้องสาวบอกจะทำน้ำส้ม เมื่อคุยกันเช่นนี้พ่อก็ปอกเปลือกส้มให้ลูกสาวคนโตไปทำแยม แล้วก็เอาเนื้อส้มให้ลูกสาวคนเล็กไปคั้นน้ำ ลงตัวไปได้ทั้งสองคน ส่วนพ่อก็เอาเมล็ดส้มไปปลูกไว้ข้างบ้านต่อไปจะได้ไม่ต้องแย่งส้มผลสุดท้ายกันอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราคุยกันดีๆมันจะมีทางออกที่ไม่ต้องมีคนแพ้คนชนะ แต่มันจะมองไม่เห็นเวลาทะเลาะกันจนหน้ามืด ใครยังไม่ได้ติดตามข่าวยังไม่รู้เรื่องความขัดแย้งของนกกรงหัวจุก...

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

Most Popular

%d