หลังจากการเดินทางที่ยาวนาน วันอันเหน็ดเหนื่อยในป่าดง ไม่มีอะไรจะสุขไปกว่าการแช่น้ำในห้วย, ล้อมวงกินอาหารอร่อยๆกับเพื่อนฝูง แล้วเอนหลังลงนอนบนที่นอนอุ่นๆนุ่มๆ
หม้อทำอาหารเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้งครับ หม้อสำหรับเดินป่าแค้มปิ้งมีให้เลือกมากมายครับ ทุกแบบล้วนทำอาหารให้เรากินได้ ไม่มีหม้ออะไรดีอะไรไม่ดี แต่หม้อแต่ละชนิดมีจุดเด่นต่างๆกันและเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันครับ
คุณสมบัติของหม้อไม่ว่าจะเป็นวัสดุ, สารเคลือบ, รูปทรง และความหนา ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการใช้งานของหม้อครับ ลองมาดูกันทีละข้อเลยครับ
เริ่มจากวัสดุที่ใช้ทำหม้อกันก่อน
วัสดุที่ใช้ทำหม้อเดินป่า แค้มปิ้ง นี่มีมากมายหลายชนิดครับ เช่น
- อะลูมินั่ม
- อะโนไดซ์อะลูมินั่ม
- ไททาเนียม
- สเตนเลส
- เหล็กหล่อ (Cast Iron)
ลองมาดูกันทีละตัวนะครับ
อะลูมินั่ม
อะลูมิเนียม หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกกัน เป็นวัสดุที่เหมาะมากที่จะเอามาใช้ทำเครื่องครัวสำหรับการเดินป่าแค้มปิ้งครับ เพราะมันมีน้ำหนักเบา, ราคาถูก และนำความร้อนได้มีประสิทธิภาพมาก เรียกได้ว่าส่งผ่านความร้อนได้ดีที่สุดในกลุ่มนี้เลยครับ

ข้อเสียของอะลูมินั่มมก็มีเพียงที่ว่าพื้นผิวค่อนข้างนิ่มเป็นรอยหรือบุบง่าย และถ้าหากโดนอาหารที่เป็นกรดจะถูกกัดได้ง่าย
ป.ล. เคยมีข้อสงสัยกันว่าหม้อ อะลูมินั่มใช้ทำอาหารได้ปลอดภัยหรือเปล่ามีผลต่อสุขถาพอย่างไรมั๊ย จากการศึกษา(ของต่างประเทศนะครับ ไม่ใช่ผมศึกษาเอง) ไม่พบว่ามีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรนะครับ
อะโนไดซ์อะลูมินั่ม
จากจุดอ่อนของอะลูมินั่ม ก็เลยมีการเอาอะลูมินั่มมาทำผิวให้แข็งทนทานขึ้นด้วยวิธี อะโนไดซ์ (Anodized) ซึ่งก็คือการสร้างชั้นของ Oxide ที่มีความแข็งขึ้นที่ผิวของอะลูมินั่ม ซึ่งก็จะยังคงคุณสมบัติที่ดีเรื่องการนำความร้อนได้ดีอยู่เหมือนเดิม
อะโนไดซ์อะลูมินั่มเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการทำเครื่องครัวเดินป่าแค้มปิ้งครับ

ไททาเนียม
ไททาเนียม เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงกว่าอะลูมินั่มมาก ไททาเนียมนำความร้อนได้ไม่ดีเท่าอะลูมินั่ม แต่เนื้อจากความแข็งแรงของวัสดุ หม้อไททาเนียมจึงสามารถทำให้บางมากๆได้ แข็งแรงทำให้ทำบางได้ แต่ส่งความร้อนได้ดีไม่เท่าอะลูมินั่มในความหน้าที่เท่ากัน

หม้อ Titanium นั้นเป็นหม้อที่น้ำหนักเบาที่สุดและแข็งแรงมาก จึงเป็นที่ไฝ่ฝันหาของนักเดินทางสายป่าแม้ว่ามันจะมีราคาแพงหว่าหม้ออื่นๆมาก อ่านถึงตรงนี้อย่าเพิ่งรีบวิ่งไปซื้อหม้อไททาเนียมนะครับ ถึงแม้จะมีสมยานามว่า “หม้อเทพ” หม้อไทาเนียมไม่ได้เหมาะกับงานทุกอย่างครับ เพราะความที่มันบางและนำความร้อนได้ดีทำให้การส่งความร้อนไปยังอาหารเป็นจุดไม่กระจายตัว เหมาะจะใช้ต้มน้ำเป็นหลักครับ ทำอาหารที่ต้องการจายความร้อนให้ทั่วๆอย่างหุงข้าวนี่ไม่ได้เลยครับไหม้หมดทุกครั้ง
อ่านบทความนี้ให้จบก่อนครับค่อยตัดสินใจว่าจะซื้อหม้อแบบไหนจะเหมาะกับคุณ
สเตนเลส
สเตนเลสเป็นวัสดุที่ทนทานที่สุดอย่างหนึ่งที่จะหามาทำภาชนะได้ มันทนทานต่อการใช้งานหนัก ตั้งกับกองไฟก็ไม่พัง ไม่ทำปฏิกริยาต่ออาหารที่มีฤิทธิ์เป็นกรดหรือด่าง เนื่องจากเนื้อสเตนเลสนั้นไม่ค่อยมีรูพรุ่นทำให้ทำความสะอาดแล้วมีคราบอาหารหรือเชื้อโรคตกค้างน้อยมาก ผิวก็แวววาวงดงามตาไม่ว่าจะใช้งานหนักแค่ไหนก็ยังดูสวยเหมือนเดิม

ข้อเสียนะหรือครับ น้ำหนักครับ สเตนเลสหนักกว่าอะลูมิเนียมมากครับ นอกจากนี้สเตนเลสยังนำความร้อนได้ไม่ดีเท่าอะลูมิเนียมทำให้ต้องใช้เวลาและพลังงานมากกว่าในการทำอาหารครับ
เหล็กหล่อ Cast Iron
กระทะหรือหม้อเหล็กหล่อยังไม่เป็นที่รู้จักหรือนิยมกันมากนักในบ้านเรา แต่ถ้าทำความรู้จักกับมันสักนิดคุณจะพบว่าเครื่องครัวที่ทำจากเหล็กหล่อนั้นมีความสุดยอดมากในการทำอาหารบางชนิด ด้วยคุณสมบัติพิเศษสามอย่างของมันที่วัสดุอื่นไม่มีคือ
- การทนความร้อนที่สูงมาก การทนความร้อนสูงไม่มีอะไรเทียบเหล็กหล่อได้ครับ แม้แต่สเตนเลสที่ว่าทนก็ไม่ควรใช้ความร้อนสูงเกินไป เหล็กหล่อสามารถใช้กับกองไฟได้โดยไร้กังวล
- การกระจายความร้อนได้ทั่วถึง ด้วยคุณสมบัติของโลหะและความหนา ทำให้กระทะหรือหม้อเหล็กหล่อกระจายความร้อนไปอย่างทั่วถึงมากๆ
- เก็บความร้อนได้นาน เมื่อทำให้ร้อนแล้วเหล็กหล่อจะเก็บความร้อนได้นานมาก ทำให้มันเหมาะที่จะใช้ทำอาหารประเภทอบ หรือตุ๋นมากครับ

เนื่องด้วยเราสามารถใช้กระทะเหล็กหล่อที่อุณภูมิสูงๆได้มากกว่าอย่างอื่น ทำให้เราสามารถทำอาหารอย่างสเต็กที่ข้างในเป็น medium rare แต่ข้างนอกกรอบอร่อยเหมือนปิ้งไฟได้เลยทีเดียว นอกจากนั้นก็เหมาะที่จะใช้ทำอาหารที่จะตั้งไฟกันข้ามคืนอย่างตุ๋นหรือสตูโดยไม่ต้องกังวลเลย
เคล็ดลับอีกอย่างของภาชนะเหล็กหล่อคือเราสามารถเคลือบกันติดได้คล้ายๆเทฟล่อนได้ง่ายๆครับ โดยการทาน้ำมันพืชที่ผิวให้ทั่วแล้วเอาไปอบที่ 250องศา นาน 90 นาที จากนั้นเอาไปทำอาหารก็ไม่ติดแล้วครับ
การเคลือบผิว
ทั้งด้วยเหตุผลความขี้เกียจและเหตุผลทางสุขภาพทำให้ภาชนะที่มีการเคลือบผิวกันติดเป็นที่นิยมมากทั้งในครัวที่บ้านและครัวกลางแจ้ง
การเคลือบผิวภาชนะนี้ทำให้เราไม่ต้องใช้น้ำมันมากนักในการทำอาหาร การทำความสะอาดหลังจากใช้ก็ง่ายมาก การเคลือบผิวภาชนะนี่มีหลายวัสดุและวิธีครับ ลองมาดูกันทีละอันนะครับ
- เทฟลอน
เทฟล่อนเป็นการเคลือบผิวที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุดครับ (แม้แต่กระทะดังที่คล้ายๆว่ามาจากเกาหลี ก็ยังใช้) เรามีภาชนะที่เคลือบเทฟล่อนกันแทบจะทุกครัวเรือน ด้วยความแพร่หลายทำให้ภาชนะเทฟล่อนมีราคาถูกลงจนหาซื้อมาใช้ได้อย่างง่ายดายภาพหม้อ Fire-Maple เคลือบเทฟล่อนภาชนะที่เคลือบด้วยเทฟล่อนมีข้อจำกัด ที่ไม่ควรจะใช้ที่อุณภูมิสูงเกินไปครับ 500องศา คืออุณภูมิสูงสุด (ตั้งกับกองไฟนี่ห้ามเด็ดขาดเลย) เพราะมีผลทำให้มีสาร ระเหยออกมามีผลเสียทั้งต่อสุขภาพเราและสิ่งแวดล้อม (สัตว์ปีกจะไว้ต่อสารนี้มากกว่าคนและจะตายง่ายมากครับ)สิ่งที่แลกมาอีกอย่างก็คือภาชนะเคลือบนี้จะมีการนำความร้อนต่ำกว่าทำให้ร้อนช้าและใช้พลังงานมากกว่าภาชนะที่ไม่เคลือบครับภาชนะเทฟล่อนนี่ก็เหมือนของอื่นๆละครับ มีทั้งของธรรมดา, ของดี และของไม่ดี ดูเหมือนๆกันแต่จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน ของที่ผมเคยใช้มาก็ต่างกันมากครับ
หม้อและกระทะ จาก GSI ที่เคลือบ Radiant Teflon ซึ่งเป็น Teflon ชนิดพิเศษเพื่อการใช้กับงานแค้มปิ้งโดยเฉพาะ เป็นภาชนะแค้มปิ้งที่ทนทานที่สุดยี่ห้อหนึ่งที่เราเคยใช้กันมา Radiance Teflon นี่เป็น Teflon ชนิดพิเศษที่ Dupont และ GSI พัฒนาขึ้นมาสำหรับการใช้งานแค้มปิ้งโดยเฉพาะครับ มีคุณสมบัติที่ร้อนเร็วกว่าเทฟล่อน ทนความร้อนได้ดีกว่า และทนต่อการขัดถูมากกว่า
เครื่องครัวที่ใช้ทนมากๆอีกชุดหนึ่งคือชุด LiTech จาก Primus ครับ ทาง Primus ไม่ได้โฆษณาอะไรมากเพียงแต่บอกว่าเคลือบหลายชั้น แต่ผมใช้มาจะสิบปีแล้ว (ใช้แบบผมด้วยนะ) ยังไม่ลอกไม่พัง อันนี้ทนจริงไม่ต้องทุ่มโฆษณาครับ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
คำแนะนำสำหรับการใช้เครื่องครัวที่เคลือบเทฟล่อนให้ปลอดภัยคือ
1) อย่าใช้ไฟแรง
2) อย่าตั้งกระทะหรือหม้อเปล่าๆบนไฟโดยไม่มีอาหารหรือน้ำมันที่จะรับความร้อนต่อไปจากมัน
3) เลือกใช้ภาชนะเคลือบเทฟล่อนยี่ห้อดีๆไว้ก่อนครับ
-
เซรามิก
การเคลือบเซรามิกเป็นสิ่งใหม่ในวงการ non-stick ครับ ว่ากันว่าเป็นการเคลือบที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่สุดที่จะหาซื้อได้ในท้องตลาดเพราะเป็นสารเคลือบกันติดที่ไม่มีสารพิษแม้จะใช้กับอุณหภูมิสูง

-
อีนาเมล
การเคลือบ Enamel เป็นการเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดในสามประเภทที่เราเอามาคุยกันครับ การเคลือบ Enamel ทำได้โดยการใส่อนุภาคของแก้วลงไปบนผิวของภาชนะโลหะ ทำให้ได้ผิวที่เรียบลื้น, ไม่ติดและไม่ไม่ทำปฏิกริยากับอาหาร
ภาชนะที่เคลือบ Enamel ปลอดภัยต่อสุขภาพ, สวยงาม และทนต่อความร้อนสูงได้ดี ยิ่งถ้าเป็นภาชนะที่ทำจากเหล็กหล่อเคลือบ Enamel นี่ยิ่งใช้งานได้ทนทานมากจะตั้งในกองไฟหรือใช้ความร้อนสูงนานๆก็ไม่มีปัญหา นื่องจากเนื้อ Enamel นั้นเรียบสนิทไม่ค่อยมีรูพรุ่นทำให้ทำความสะอาดแล้วมีคราบอาหารหรือเชื้อโรคตกค้างน้อยมาก
ข้อด้อยของ Enamel ก็คืออาจจะกระเทาะได้ครับ เพราะ Enamel คือการเคลือบด้วยแก้วจึงไม่ทนต่อการกระแทก
ถ้าได้รับการดูแลดีๆ ภาชนะเคลือบ enamel นี่จะทนชั่วลูกชั่วหลานแบบที่เราเคยเห็นคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เราใช้มาแล้วครับ
รูปทรงของหม้อ
รูปทรงของหม้อมีผลต่อการใช้งานทำอาหารที่แตกต่างกันครับ
หม้อทรงแคบสูงนั้นมีข้อดีที่รับพลังงานจากเตาขนาดเล็กได้ดีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้ายิ่งมีครีบรับความร้อนรอบด้านล่างก็จะได้ประสิทธิภาพจากพลังงานสูง ตั้งบนเตาหัวถังได้ดีไม่ล้ม แต่ข้อเสียคือการกระจายความร้อนไม่ทั่วถึงอาหารด้านบนครับ เรื่องที่เห็นง่ายๆก็คือถ้าใส่เต็มหม้อจะหุงข้าวยากมากครับเพราะข้างล่างจะไหม้ก่อนที่ข้างบนจะสุก
ถ้าคุณเดินทางน้อยคน ต้องการหม้อขนาดเล็กที่ตั้งกับเตาหัวถังขนาดเล็กได้ดี ลองดู 2-3 ชุดนี้นะครับ


หม้อทรงนี้เหมาะสำหรับการต้มน้ำ, ทำหรืออุ่นอาหารที่เป็นของเหลว ครับ
หม้อทรงกว้างเตี้ย มีข้อดีที่ความร้อนจะกระจายไปถึงอาหารข้างบนได้ทั่วถึง เหมาะกับการทำอาหารแบบไทยๆมากกว่าหม้อทรงสูง แต่ไม่เหมาะที่จะใช้กับเตาขนาดเล็กเพราะความร้อนจะกระจายไปไม่ทั่วและถ้าใช้กับเตาหัวถังก็อาจจะล้มได้ง่ายมาก
ถ้าคุณชอบทำกับข้าวหลากหลายควรจะหาหม้อทรงนี้จะเหมาะกว่า แล้วก็หาเตาที่เข้ากันได้ดีครับ

VDO ชุดนี้เปรียบเทียบหม้อทั้ง 2 ทรงของ MSR ให้ดูกันครับ
การเลือกหม้อนี่เกี่ยวพันไปถึงการเลือกเตาให้เหมาะสมกันด้วย อ่านเรื่องการเลือกเตาได้ที่นี่ครับ

ประสิทธิภาพการประหยัดเชื้อเพลิงปะทะการทำอาหาร
ถ้าคุณจะต้องแบกน้ำหนักเดินไกลๆ คุณคงมองหาหม้อที่ถ่ายทอดพลังงานไปยังอาหารได้สูงสุดซึ่งก็หมายถึงการประหยัดเชื้อเพลิงที่จะต้องแบกไปด้วย
หม้อลักษณะนี้คือหม้อทรงสูง ทำจาก อะลูมินียมหรือไททาเนียมทรงสูง ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็คือหม้อที่ออกแบบมาเป็นชุดกับเตาเพื่อให้สูญเสียพลังงานน้อยที่สุด


แต่อย่าพยายามเอาหม้อและเตาลักษณะนี้ไปทำอาหารอะไรพิเศษๆนะครับ ผมลองและล้มเหลวมาเยอะแล้ว
สิ่งที่ทำได้มากที่สุดจากเตาประเภทนี้คือ ข้าวอบ Solo ของคุณแมงดึกครับ
ถ้าคุณต้องการทำอาหารให้อร่อยสุดๆด้วยเมนูหลายหลายกินกันให้กระจายในแค้มป์แบบไม่เกี่ยงน้ำหนัก (น้ำหนักภาชนะและและน้ำหนักคนที่จะเพิ่มขึ้นหลังไปแค้มป์) คุณต้องจัดอุปกรณ์ที่ต่างกันไปอย่างสุดขั้วครับ เช่นเมนูง่ายๆแบบนี้
กระทะและหม้อที่หนาอย่าง Cast Iron อย่างหม้อ Dutch Oven นี่จะกระจายไฟได้ทั่วถึงมาก ไม่มีการร้อนเป็นจุด นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับความร้อนสูงๆหรือนานๆได้โดยไม่จำกัด และยังเก็บความร้อนได้นานอีกด้วย มันจึงเหมาะมากที่จะใช้ทำอาหารแบบเชฟกลางป่า ไม่ว่าจะเป็นการทอดสเต็ก, ทำสตู, ตุ่นไก่ ฯลฯ อันนี้ต้องให้คุณแมงดึกมาเล่าต่อครับ ลองดูเป็นตัวอย่างกันสักสองสามเมนูครับ
เมื่อยกลงจากเตาหรือกองไฟมาแล้ว ก็ยังเก็บความร้อนให้อาหารอุ่นกินอร่อยอยู่อีกนานกว่าหม้อชนิดอื่นครับ

เลือกขนาดของหม้อ
การเลือกขนาดของหม้อจะขึ้นกับจำนวนคนและชนิดของอาหารที่คุณจะทำและเป็นตัวกำหนดว่าคุณควรจะใช้เตาแบบไหนครับ
การคำนวนหรือกะง่ายๆในการเลือกขนาดหม้อคือหม้อหลักควรจะมีความจุประมาณ 500-700 cc ขึ้นไป ต่อสมาชิกหนึ่งคนในทีม ซึ่งจะมีขนาดกำลังดีไม่ว่าจะเป็นการต้มน้ำเพื่อเตรียมอาหาร Freeze Dry, หุงข้าวหรือต้มยำทำแกง
เช่น ถ้าหากคุณเดินทางคนเดียว เดินทางไกลที่ต้องการลดน้ำหนักลดขนาดของที่จะนำติดตัว ต้องการเพียงทำอาหารง่ายๆเช่นต้มน้ำใส่อาหาร Freeze Dry, ต้มบะหมี่ หรือแม้แต่หุงข้าวง่ายๆ คุณก็น่าจะเลือกหม้อขนาดเล็กๆประกอบเข้ากับเตาแก๊สหัวถังขนาดเล็กๆ เช่นหม้อ GSI Sololist กับเตา MSR Pocket Rocket หรือ ชุดหม้อพร้อมเตาอย่างเช่น Primus Lite+
หากคุณเดินทางสองคน ทางเลือกมีเยอะมากครับ เดินทางไกลที่ต้องการลดน้ำหนักลดขนาดของที่จะนำติดตัว ต้องการเพียงทำอาหารง่ายๆ ก็คล้ายกับชุดคนเดียวเพียงแต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น คุณก็น่าจะเลือกหม้อขนาดประมาณ 1.5-2 ลิตร ประกอบเข้ากับเตาแก๊สหัวถังขนาดเล็กๆ เช่นหม้อ GSI Dualist หรือ MSR Trail Lite Duo กับเตา MSR Pocket Rocket หรืออาจจะเป็นเตาแก๊สแยกถังขนาดเล็กอย่าง Primus Express Spider หรือใช้เป็น ชุดหม้อพร้อมเตาอย่างเช่น MSR WindBurner
ลองดูจาก VDO เหล่านี้ดูนะครับ
ถ้าจะทำกับข้าวมากหน่อย หุงข้าวทำกับข้าวไปเดินป่าหรือในแค้มป์ ก็น่าจะเลือกชุดหม้อทรงกว้าง เช่น Fire-Maple 202, Primus LiTech หรือ GSI Pinnacle Base Camper Small ประกอบเข้ากับเตาแก๊สหรือเตาน้ำมันแยกถังที่ให้ไฟกว้างๆเช่น Fire-Maple-105, Coleman 533 หรือ MSR WhisperLite


ถ้าไปเดินป่ากันเป็นคณะใหญ่ 3-4 คนขึ้นไป ก็น่าจะเลือกชุดหม้อที่เป็นชุดหลายใบซ้อนกันมีจานมีถ้วยเพื่อประหยัดพื้นที่ในเป้ เช่น Fire-Maple 209, MSR Quick 3 หรือ GSI Pinnacle Camper ประกอบเข้ากับเตาน้ำมันหรือเตาแก๊สที่ให้ไฟกว้าง อย่าง Fire-Maple-105, Fire-Maple 121 หรือ MSR WhisperLite
ลองดูชุดที่พวกเราใช้กันใน VDO เหล่านี้นะครับ
ถ้าไปแค้มป์แบบสุขสันต์กันเป็นคณะใหญ่ เน้นที่จะทำอาหารกันให้สนุก ก็น่าจะมองหาเตาน้ำมันสองหัว หรือ เตา BBQ ที่ใช้ถ่านไม้เลยนะครับจะทำอาหารสนุกสนานขึ้นอีกมาก
ถ้าจะไปแค้มป์หรือเดินป่ากันโดยทำกับข้าวกับกองไฟก็น่าจะต้องใช้เครื่องครัวที่เป็นสเตนเลสหรือเหล็กหล่อเป็นหลักครับ เพราะหม้อกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหรือ ไททาเนียมนั้นไม่สามารถทนความร้อนของกองไฟได้ครับ
ว่ามายืดยาวมาก แต่ถ้าจะสรุปสั้นก็คือ จำนวนคนและรูปแบบของการเดินทางจะเป็นตัวกำหนดชนิดของของเตาหรือไฟที่คุณจะเลือกใช้ และก็เป็นตัวกำหนดชนิดของหม้อที่คุณควรเลือกใช้ครับ
ถ้าจะเลือกซื้อเครื่องครัวสำหรับแค้มปิ้งหรือเดินป่า ก็เข้าไปเลือกกันได้ที่ www.ThailandOutdoorShop.com ตรงนี้เลยครับ
เที่ยวให้สนุก ทำกับข้าวให้อร่อยกันนะครับ
[…] […]