Monday, September 25, 2023
HomeOutdoor GearChoosing Equipmentจัดเป้ไปเดินดอย

จัดเป้ไปเดินดอย

-

จัดเป้ไปเดินดอย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Fjallraven Thailand Trail)

การจัดของลงเป้ไปเดินดอย เราต้องพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างมากครับ เพราะน้ำหนักแต่ละกิโลกรัมนั้นมีผลอย่างมากและจะเพิ่มความรู้สึกอย่างทวีคูนเมื่อเราเดินไปหลายชั่วโมงและต้องต่อสู้กับความสูงชันของเส้นทาง ดังนั้นของที่หยิบลงเป้จึงต้องเป็นของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆและเป็นของที่มีคุณภาพดีไว้ใจได้และมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา

เริ่มกันที่ของที่สำคัญที่สุดสองอย่างก่อน คือเป้และรองเท้า เพราะถ้า 2 อย่างนี้ดีและเหมาะสมกับการใช้งานแล้วคุณจะมีความสุขในการเดินดอย แต่หากเลือกมาผิดละก็ ทุกย่างก้าวของคุณจะเป็นความทุกระทม ปวดเท้าระบมไหล่ไปทุกขณะจิต

ผมจัดรองเท้าเป็นอุปกรณ์สำคัญอันดับหนึ่ง และเป็นสิ่งที่คนมองข้ามและละเลยในรายละเอียดมากที่สุด

การเลือกรองเท้าเดินป่ามีรายละเอียดมากมาย ตั้งแต่ประเภทของรองเท้า ไปจนถึงรูปทรงของเท้า

คนส่วนใหญ่ (รวมทั้งผมจนกระทั่งไม่นานมานี้) มักจะคิดว่ารองเท้าขอให้เป็นรองเท้าหุ้มข้อก็เป็นรองเท้าเดินป่าเหมือนๆกันหมด บางคนก็คิดว่ารองเท้าวิ่งเทรลก็ใช้เดินป่าได้เหมือนกัน ขอตอบแบบกำปั้นทุบหัวเลยว่าไม่จริงครับ

รองเท้าเดินป่าจริงๆนั้นมีโครงสร้างที่แข็งแรงที่จะปกป้องเท้าเราจากการใช้งานหนักบนเส้นทางทรหดที่เราไม่ค่อยจะพบเจอในชีวิตปรกติ และยังช่วยรับแรงกระแทกที่เกิดจากการเดินโดยมีเป้ที่เป็นน้ำหนักส่วนเพิ่มของร่างกายเราซึ่งไม่ใช่น้ำหนักปรกติอีกด้วย

แม้กระทั่งรองเท้าเดินป่าแท้ๆก็ยังแยกเป็นหลายประเภท ตามนี้ครับ

  1. รองเท้า Light Hiking เป็นรองเท้าที่ออกแบบมาให้ใช้เดินป่าแบบลำลอ เดินไม่ไกลมาก บนทางที่ค่อนข้างเรียบ เช่นทางศึกษาธรรมชาติ หรือเส้นทางเดินป่าที่ปรับไว้ค่อนข้างเรียบ ถ้าจะแบกเป้บ้างก็เป็นเป้เบาสำหรับใช้วันเดียวหรือ นอนไม่เกินหนึ่งคืน รองเท้าเดินป่าส่วนใหญ่เกือบทุกยี่ห้อที่เข้ามาขายในบ้านเราจะเป็นกลุ่มนี้
  2. รองเท้า Hiking คือรองเท้าในกลุ่มที่ออกแบบมาให้เดินป่าในเส้นทางขรุขระ มีการแบกเป้น้ำหนักปานกลาง 12-20 กิโลกรัม รองเท้าในกลุ่มนี้จะมีพื้นที่แข็งแรงรับแรงกระแทกได้ดีและปกป้องเท้าและข้อเท้าได้ดีกว่ากลุ่ม Light Hiking แต่แน่นอนมันจะมีน้ำหนักมากกว่า อาจจะใส่ไม่สบายในตอนที่ลองครั้งแรกเพราะเราไม่คุ้นเคย แต่มันเป็นรองเท้าในกลุ่มที่เหมาะที่สุดสำหรับการเดินป่าปีนดอยในบ้านเรา
  3. รองเท้า Backpacking คือรองเท้าที่ออกแบบมาใช้เดินทางระยะไกลมากๆ บนทางที่ขรุขะหรือที่ไม่มีเส้นทาง แบกน้ำหนักจำนวนมากเช่น เกิน 20 กิโลกรัมขึ้นไป พูดง่ายๆว่าเป็นรองเท้าที่ heavy duty ที่สุด มันคือรองเท้าที่ปกป้องเท้าคุณได้ดีที่สุด มีพื้นแข็ง มีชั้นซับแรงกระแทก ตัวรองเท้าแข็งแรงมาก ไม่ผิดอะไรหากคุณจะใช้รองเท้า Backpacking มาเดินป่าบ้านเรา ขอเสียอย่างเดียวก็คือมันอาจจะหนักกว่า 2 แบบแรกอยู่บ้าง

ลองศึกษารายละเอียดจาก VDO การเลือกรองเท้าอันนี้นะครับ

รองเท้าที่ผมคิดว่าดีที่สุดเหมาะที่สุดสำหรับการเดินดอยในบ้านเราคู่หนึ่งคือ Asolo Drifter คู่นี้ครับ ดูรายละเอียดของ Drifter ได้ที่นี่ครับ

อ่านบทความเต็มๆเรื่องการเลือกรองเท้าเดินป่าได้ที่นี่ครับ

ต่อมาก็เรื่อเป้ครับ

สำหรับการเดินดอยในบ้านเรานั้น ขอฟันธงให้เลยครับ ว่าขนาดเป้ที่เหมาะสมคือ 40-55 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 38-50 ลิตร สำหรับผู้หญิง เป้ขนาดนี้มีขนาดกำลังเหมาะที่เดินได้อย่างคล่องตัวในป่าที่อาจจะรก แต่ก็มีความจุเหลือเฟือที่จะใส่ของจำเป็นสำหรับการเดินป่า 3-5 วันได้สบายถ้าหากคุณเลือกใช้ของที่มีขนาดเล็กมีคุณภาพที่ออกแบบมาสำหรับการเดินป่า

ถ้าคุณใช้เป้ 50-55 ลิตรแล้วยังใส่ของไม่พอ แสดงว่าคุณอาจจะมีของที่ไม่จำเป็นอยู่ในเป้มาก หรือ เลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ถ้ามีปัญหานี้ อ่านบทความนี้ให้จบครับน่าจะช่วยได้

ลองดูเป้เหล่านี้นะครับ เป็นรุ่นที่คัดสรรทดลองมาแล้วว่าเหมาะกับการเดินป่าบ้านเราครับ

Gregory Stout 45 เป้เริ่มต้นที่ขนาดกำลังเหมาะและราคาคุ้มค่ามากสำหรับนักเดินป่ามือใหม่ผู้ชาย ดูรายละเอียดที่นี่ครับ

 

Gregory Amber 44 เป้เริ่มต้นที่ขนาดกำลังเหมาะและราคาคุ้มค่ามากสำหรับนักเดินป่ามือใหม่ผู้หญิง ดูรายละเอียดที่นี่ครับ

VDO การจัดเป้ให้พอใน 40 ลิตร Zulu 40

ด้วยระบบหลังที่ดี และระบายอากาศได้ดี Zulu 55 เป้ที่อาจจะเป็นเป้ที่ดีที่สุดสำหรับการเดินป่าในบ้านเราสำหรับผู้ชาย ดูรายละเอียดที่นี่ครับ
Gregory Jade 53 เป้ที่อาจจะเป็นเป้ที่ดีที่สุดสำหรับการเดินป่าในบ้านเราสำหรับผู้หญิง ดูรายละเอียดที่นี่ครับ
Paragon 48 หรือ 58 เป้ที่ดีมากสำหรับการเดินป่าไปจนถึงการ backpacking ต่างประเทศสำหรับผู้ชาย ดูรายละเอียดที่นี่ครับ
Maven 45 หรื 55 เป้ที่ดีมากสำหรับการเดินป่าไปจนถึงการ backpacking ต่างประเทศสำหรับผู้หญิง ดูรายละเอียดที่นี่ครับ

ถ้าอยากอ่านข้อมูลละเอียดในการเลือกเป้ คุณสามารถอ่านบทความเรื่องการเลือกเป้อย่างละเอียดได้ที่นี่ครับ

เรื่องของเครื่องนอน

เมื่อเดินแบกเป้มาถึงจุดแค้มป์แล้วก็ต้องเตรียมที่หลับที่นอนกันบ้างครับ

อย่างแรกก็คือจะเลือกเต๊นท์หรือเปลดี

เปลจะมีข้อดีมากหากคุณเดินป่าเดินดอยในช่วงหน้าฝนเพราะหากเพียงคุณมีฟลายชี้ตคุณภาพดีและขนาดใหญ่พอ, และเรียนรู้การผูกเปลที่ถูกต้อง คุณก็จะสามารถนอนเปลได้อย่างมีความสุขไม่ว่าฝนจะตกหนักแค่ไหน

เปลฮ็อปป่า ออกแบบมาเพื่อการเดินป่าแบบไทยๆ ไว้ใจได้เสมอ นอนสบายมาก ดูเปลฮ็อปป่าได้ที่นี่ครับ

เปล Hennessy Hammock เปลที่ยอมรับกันว่านอนสบายที่สุดในป่าและกันฝนได้ดี มาเป็นชุดครบในตัวเดียว ดูเปล Hennessy ได้ที่นี่ครับ

แต่ในฤดูหนาวบนยอดดอย การนอนเปลอาจจะทำให้คุณหนาวจนนอนไม่ได้ การใช้ถุงนอนในเปลไม่ได้ช่วยให้อุ่นมากนัก เพราะว่าถุงนอนจะช่วยให้อุ่นได้ก็ต่อเมื่อมันถูกปล่อยให้พองตัว มีโพรงอากาศอยู่ด้านในวัสดุ ดังนั้นถุงนอนที่อยู่ด้านล่างและถูกเรานอนทับอยู่จะไม่ช่วยให้อุ่น เมื่อลมเย็นๆพัดผ่านใต้เปล ก็ต้องหนีลงมาผิงไฟกันมาทุกคนแล้วครับ

ถ้าชอบนอนเปลจริงๆ อยากจะนอนในฤดูหนาว ก็คงต้องเป็นชุดนี้จาก Thermarest ครับ เพราะมีทั้งแผ่นรองนอนและ warmer มา อุ่นแน่นอน ดู Thermarest Slacker Hammock ได้ที่นี่ครับ

เต๊นท์สำหรับเดินป่านั้น ต้องเป็นเต๊นท์ที่น้ำหนักเบา เก็บได้เล็ก กันฝนไว้ใจได้จริงๆเพราะกลางป่านั้น ถ้าหากเต๊นท์รั่วขึ้นมาเราจะวิ่งหลบเข้ารถก็ไม่ได้ จะวิ่งหาศาลาก็ไม่มี

ตัวนี้ครับ คือเต๊นท์ที่ผมเคยฝันอยากจะให้มีขายในตอนที่ผมเริ่มเดินป่าใหม่ๆเมื่อ 20 ปีก่อน Coleman AirDome Lite 2 เป็นเต๊นท์ราคาประหยัดที่มีเสาเป็นอะลูมิเนียมทำให้มีน้ำหนักไม่มากเกินไป พอจะแบกเดินป่าได้ ( 2 กิโลกรัมกว่าๆ)  ถ่ายเทอากาศได้ดี กันฝนสนิท ดู Coleman AirDome Lite 2 ได้ที่นี่ครับ

MSR Hubba Hubba คือเต๊นท์สุดยอดปราถนาของคนเดินป่า มันถูกพิสูจน์มาแล้วนับสิบปีว่าเป็นเต๊นท์เดินป่าที่ลงตัวที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก ดู MSR HubbaHubba ได้ที่นี่ครับ

MSR FreeLite เต๊นท์รุ่นที่พัฒนาต่อมาจาก Hubba Hubba ให้เบาขึ้นไปอีกขั้น ดู FreeLite ได้ที่นี่ครับ

Nordisk Lofoten เต๊นท์ที่เบาที่สุดในโลก!!! น้ำหนักไม่ถึง 500 กรัม!!! ดู Lofoten ได้ที่นี่ครับ

ถ้าอยากอ่านเรื่องละเอียดๆของการเลือกเต๊นท์ เชิญที่นี่เลยครับ

มีเต๊นท์แล้ว ของจำเป็นชิ้นต่อไปก็คือแผ่นรองนอนครับ คำแนะนำที่สำคัญคืออย่ามองข้ามความสำคัญของแผ่นรองนอนเด็ดขาด!

แผ่นรองนอนทำหน้าที่สำคัญสองอย่างคือ อย่างแรกช่วยปกป้องตัวคุณจากก้อนหินแหลมๆและรากไม้แข็งๆ และที่คนมักจะคิดไม่ถึงคือช่วยเรื่องความอบอุ่นที่ถุงนอนอย่างเดียวไม่สามารถทำได้

วัสดุของถุงนอนไม่ว่าจะดีแค่ไหน จะเป็นฉนวนปกป้องความหนาว (ลดการสูญเสียความร้อน) ได้ก็ต่อเมื่อมันฟูตัวมีโพรงอากาศภายใน สำหรับถุงนอนส่วนที่เรานอนทับอยู่ด้านล่างนั้นไม่ได้ช่วยให้เราอุ่นขึ้นเลย และเราจะรู้สึกหนาวจากด้านล่างแน่นอน แผ่นรองนอนจะช่วยได้มากในเรื่องความอบอุ่นนี้

มาทำความเข้าใจกับแบบต่างของแผ่นรองนอนกันที่ VDO นี้ครับ

ฟันธงเลยครับ ว่าแผ่นรองนอนเป็นของจำเป็น ที่จะช่วยให้คุณหลับสบายแล้วตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นพร้อมที่จะสนุกสนานกับวันรุ่งขึ้น

แผ่นโฟมแบบแบนๆเรียบๆนี้ไม่ต้องไปซื้อมาใช้นะครับ เพราะมันไม่ต่างอะไรกับนอนบนไม้กระดาน มันไม่ได้ช่วยซับแรงอะไรเลย มีหินมีอะไรข้างล่างมันก็ตำเรารู้สึกได้เหมือนเดิม
RidgeRest Classic แผ่นรองนอนแบบง่ายๆราคาไม่แพงที่ปั๊มขึ้นรูปเป็นลูกฟูกทำให้นอนสบายใช้ได้เลย ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
ถ้าอยากจะแบกแผ่นรองนอนที่นอนสบายที่สุดและมีน้ำหนักและขนาดพอจะแบกเข้าป่าได้ ลองดู Trail Pro เคยครับ ตัวนี้นอนสบายที่สุดจริงๆ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
Thermarest NeoAir Xlite แผ่นรองนอนที่เล็กที่สุดเบาที่สุดสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักของที่ต้องการแบก แต่นอนสบายและอุ่นไม่แพ้อันไหนเลย ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ถ้ายังไม่จุใจอยากอ่านเรื่องแผ่นรองนอนโดยละเอียด เข้าไปอ่านที่นี่เลยครับ

ผ้าห่มและถุงนอน เมื่อมีแผ่นรองนอนแล้วด้านล่างอุ่น คุณก็อาจจะเลือกใช้ผ้าห่มแทนถุงนอนก็ยังได้ประหยัดที่และน้ำหนักไปครึ่งหนึ่ง

สิ่งที่สำคัญก็คือการเลือกผ้าห่มและถุงนอนที่เหมาะกับอุณภูมิใช้งาน ถ้าหากคุณอ่าน Spec อ่านให้ดีๆนะครับว่า Comfort ในช่วงไหน ไม่ใช่ extream range นะครับ

เวลาเราเลือกซื้อถุงนอน สิ่งที่เราจะสังเกตกันเป็นลำดับต้นๆก็คือ Temperature Rating หรือตัวเลขที่บอกอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งานถุงนอนรุ่นนั้นๆ ซึ่งเราก็ควรจะเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของเรา ถ้าใช้ถุงนอนบางเกินไปก็หนาวสั่น ใช้ถุงนอนหนามากก็ร้อนเกินไป โดยถุงบางรุ่นก็บอกเลขตัวเดียว บางรุ่นก็มีเลขหลายตัว แล้วเลขแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร

โดยทั่วไปตัว Temperature Rating จะมีตัวเลข 3 ตัวครับ คือ Comfort Range, Transition Range และ Risk Range ครับ แต่ละตัวก็จะแปลความหมายออกมาต่างกันครับ

Comfort Range
คือช่วงอุณหภูมิที่คนทั่วไปสามารถนอนได้อย่างสบาย ไม่รู้สึกหนาว

Transition Range
คือช่วงอุณหภูมิที่คนทั่วไปเริ่มรู้สึกหนาว มีการนอนขดตัว และถือเป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถใช้ถุงนอนนี้ได้อย่างปลอดภัย

Risk Range (Extreme Range)
คือช่วงอุณหภูมิที่คนทั่วไปรู้สึกหนาวจัด แต่ความรู้สึกภายในถุงนอนและนอกถุงนอนยังคงแตกต่างกัน การใช้งานในช่วงอุณหภูมินี้มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียความร้อนของร่างกาย (Hypothermia) ไม่ควรนำไปใช้ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน

จากคำอธิบายข้างบนก็คือตัวเลขที่เราควรจะสนใจก็คือ Comfort Range เป็นหลัก สำหรับคนที่ทนหนาวเก่งหรือขี้ร้อนก็อาจจะดูที่ Transition Range ก็ได้ สำหรับถุงนอนบางรุ่นที่มี Temperature Rating แค่ตัวเดียวก็ต้องดูให้ละเอียดว่าเลขที่บอกคือตัวไหน

ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าถ้าเรานอนที่อุณหภูมิ 15 องศา โดยใช้ถุงนอนที่มี comfort range ที่ 10 องศา แล้วเราจะอุ่นเสมอไป เพราะในความเป็นจริงมีตัวแปรอีกหลายๆอย่างที่ส่งผลกับความอบอุ่นของเราครับ ทั้งลม ความชื้น เสื้อผ้าที่เราใส่และความรู้สึกของแต่ละคน เพียงแต่ Temperature Rating เป็นค่ามาตรฐานที่มาจากการทดสอบในตัวแปรควบคุมที่กำหนดไว้ ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่เราอ้างอิงได้ สามารถใช้เปรียบเทียบกันระหว่างถุงนอนแต่ละรุ่นได้ พอเราเอาไปใช้จริง ความรู้สึกก็อาจจะแตกต่างออกไปบ้าง แต่ก็ต้องบอกว่าอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงพอสมควร

ถุงนอน Coleman C8 ถุงนอนราคาประหยัดที่ให้ความอบอุ่นเพียงพอบนดอยเมืองไทย ดูรายละเอียดที่นี่เลยครับ
ถุงนอน Nordisk Canute -2 ถุงนอนดีๆ ที่ไปดอยไหนก็ไม่กลัวหนาว ดูรายละเอียดที่นี่เลยครับ
ผ้าห่ม Corus Quit จาก Thermarest ที่ทำจากขนห่าน มีน้ำหนักเบาสัมผัสนุ่มนวล เหมาะมากที่จะใช้เดินป่าบนดอยหนาว ดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ

ถ้าอยากรู้ให้ลึก ศึกษาให้มากกว่านี้ ลองอ่านบทความเรื่องการเลือกผ้าห่มและถุงนอนได้ที่หน้านี้เลยครับ

มีแผ่นรองนอนแล้ว มีผ้าห่มแล้ว เพิ่มหมอนเบาๆเล็กๆอีกสักใบก็ไม่ได้เพิ่มภาระ แต่เพิ่มความหลับสบายได้อีกมากครับ ดูหมอนได้ที่นี่ครับ

จบจากเรื่องเครื่องนอนก็ต้องหาอะไรกินกันบ้างละ

อาหารที่จะเตรียมไปเดินป่าก็ไม่พ้นของแห้งที่มีน้ำหนักเบา เก็บได้หลายวันโดยที่ไม่ต้องแช่เย็น เช่นกุนเชียง,​ ปลาแห้ง, เนื้อเค็ม อย่าหวังพึ่งพาบะหมี่สำเร็จรูปมากเกินไปนะครับเพราะมันอาจจะช่วยให้อิ่มได้บ้างแต่คุณจะไม่มีแรงเดิน หรือเดินไปแค่ 2-3 ชั่วโมงก็หมดแรงและหิวอีกครั้ง

ลองดูรายการกินกลางดินตอนเต้าหู้ยี้สวรรค์นี้ดูนะครับ รายการอาหารหนึ่งที่ทำง่ายๆ

อาหารสำหรับเดินป่า ในยุคนี้คงไม่มีอะไรดีเลิศไปกว่าอาหาร Freeze Dry ที่น้ำหนักเบา, เก็บได้นาน, ปรุงง่ายและให้พลังงานครบเหมือนอาหารที่ปรุงสด

การปรุงอาหารร้อน เตาแก๊สหรือเตาน้ำมันคืออุปกรณ์ที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นมาก เดินป่านี่บางครั้งแราจะก่อไฟกันถ้าหากพื้นที่อำนวยให้ความอบอุ่นไล่แมลง แต่เดินมาเหนื่อยๆนี่การหุงข้าว ทำกับข้าวนี่เตาแก๊สเตาน้ำมันสบายกว่ามากครับ

เตาเดินป่านั้นมีให้เลือกมากมาย ราคาไม่แพง ลองดูจากข้างล่างนี้ก่อนก็ได้ครับ

เตาแก๊ส  FMS-105 จาก Fire-Maple คือเตาราคาประหยัดที่ไว้ใจได้ ดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ

เตาน้ำมัน MSR ได้รับความไว้วางใจมากว่า 30 ปีโดยนักเดินป่าทั่วโลก แถมยังราคาน่าคบหามาก ดูเตา MSR WhisperLite ได้ที่นี่ครับ 

เตาชุดพร้อมหม้อของ Primus ช่วยให้การจัดของกินที่น้อยลงมาก และเตาชนิดนี้ยังประหยัดพลังงานไปกว่า 30% นั่นก็หมายความว่าคุณจะต้องแบกเชื้อเพลิงน้อยลงไปมาก ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ทำอาหารเองหรือจะไปขอเพื่อนกิน ก็ต้องมีจานชามไปหน่อยครับ Primus MealSet ชุดเดียวที่ให้จานชามช้อนและถ้วยไปด้วยกันเลย ดู Primus MealSet ได้ที่นี่ครับ

ชอบและสนใจเรื่องเตาเดินป่า ลองอ่านบทความเรื่องการเลือกเตาเดินป่าที่หน้านี้นะครับ

อ่านบทความเรื่องการเลือกหม้อเดินป่าให้เหมาะกับการใช้งานได้ที่หน้านี้ครับ (กำลังจะมาเร็วๆนี้ครับ)

น้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินป่า ผมเคยพาคณะเลี้ยวทางผิด (ไม่นับว่าหลงนะ) ขาดน้ำไปแค่ 3-4 ชั่วโมง ทุกคนก็หมดแรงเดินต่อไม่ไหวกันแล้ว

เราควรจะมีน้ำติดตัวอย่างน้อย 2 ลิตร ในการเดินป่า (และ 3-4 ลิตรในการเดิน Fjallraven Thailand Trail) การพกพาน้ำ มีอุปกรณ์ให้เลือก 2-3 ประเภทครับ ตั้งแต่ขวดน้ำ Outdoor, ขวดน้ำพับได้ ไปจนถึงถุงน้ำที่ใส่ในเป้

ขวดน้ำ Primus Trail Bottle ออกแบบมาสำหรับการเดินป่าโดยเฉพาะ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ขวดน้ำพับได้จาก Platypus เหมาะมากสำหรับพกพาเป็นขวดสำรอง ดูขวดน้ำ Platypus ได้ที่นี่ครับ

จะแบกน้ำไปเยอะๆไม่ใช้ง่ายครับ ถุงน้ำ BigZip จาก Platypus ช่วยให้การแบกน้ำ 2-3 ลิตรในเป้เป็นเรื่องง่ายๆ ดูถุงน้ำ Big Zip ได้ที่นี่ครับ

ถุงน้ำ MSR Drom Bag คือถุงน้ำสุดทรหดที่ใช้เป็นถุงสำรองเพื่อจะนำน้ำปริมาณมากๆไปบนเส้นทางที่แห้งแล้ง ดูถุงน้ำ MSR Drom Bag ได้ที่นี่ครับ 

เราไม่มีทางที่จะขนน้ำไปบริโภคให้พอเพียงต่อความต้องการตลอดการเดินป่า 2-3 วันได้ และน้ำในธรรมชาติก็ไม่ได้สะอาดพอที่จะบริโภคได้ การกรองน้ำเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำน้ำให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

VDO นี้ให้ความรู้เบื้องต้นของการทำความสะอาดน้ำครับ

MSR Guardian เครื่องกรองน้ำที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในยุคนี้ ดู MSR Guardian ได้ที่นี่ครับ

Platypus Meta Bottle เครื่องกรองน้ำที่มาในขวดเลย ดู Meta Bottle ได้ที่นี่ครับ

เสื้อผ้าสำหรับการเดินป่า

เราไม่จำเป็นต้องเอาเสื้อผ้าไปมากนักในการไปเดินป่า ขอมีเพียงชุดที่ใส่เดินหนึ่งชุดที่จะลุยได้ทุกวัน และชุดสะอาดไว้ใส่นอนอีกหนึ่งชุด และสำหรับคุณผู้หญิงมีชุดที่จะเอาไว้ใส่อาบน้ำอีกสักชุดก็พอแล้ว

ชุดเดินชุดลุยกันฟันธงเลยครับ ว่าควรจะเป็นกางเกงขายาว เสื้อแขนยาวครับ เพราะในป่านั้นเต็มไปด้วยใบไม้ที่อาจจะคัน, หนามตามรายทาง ไปจนถึงแมลงที่รอขย้ำเนื้อขาวๆนุ่มๆของคนเมือง

กางเกงควรจะเป็นผ้าหนาแต่ไม่หนาเกินไป ให้เราเคลื่อนไหวได้คล่องตัวไม่ติดขัด ถ่ายเทอากาศได้ และแห้งเร็ว

เท่าที่ลองมาผมยังไม่เจอกางเกงตัวไหนที่เหมาะกับการเดินป่ามากกว่า Fjallraven ViddaPro ราคามันอาจจะแรงสักนิด แต่ใช้ดี ใช้นาน ใช้ทนมากครับ ดูกางเกง ViddaPro ได้ที่นี่ครับ

เสื้อที่เป็นแขนยาว ไม่ควรหนาครับ ควรจะเป็นเนื้อผ้าที่ระบายอากาศและความชื้นได้ดี แห้งเร็ว เพราะจะช่วยให้เราเดินได้โดยไม่ร้อนเกินไป และหากมีโอกาสซักตากก็แห้งเร็วก่อนที่จะออกเดิน

Fjallraven Abisko Hike Shirt คือตัวอย่างที่ดีมากสำหรับเสื้อเดินป่า เนื้อผ้าระบายอากาศและความชื้นได้ดีมาก ทนต่อการใช้งานในป่า ซักแล้วแห้งเร็ว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ครับ

สำหรับเสื้อกันหนาว ก็ควรจะจัดเป็นชั้นๆของเสื้อกันลม และเสื้อที่ให้ความอุ่นด้านในแทนที่จะใช้เสื้อหนาตัวเดียวทำให้เราสามารถเลือกใช้ได้ตามสภาพอากาศ และเวลาเช่น เวลาเดินแล้วอากาศเย็นลมแรงเราก็อาจจะใช้เสื้อกันลม เมื่อถึงแค้มป์แล้วเราก็อาจจะใส่เสื้อที่ให้ความอุ่น ถ้าหนาวมากขึ้นก็ค่อยใส่เสื้อกันลมทับเข้าไป

อ่านเรื่องการเลือกเสื้อกันหนาวได้ที่นี่ครับ

อุปกรณ์อื่น

อุปกรณ์อื่นๆที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ ไม้เท้าและไฟฉายครับ

ไม้เท้าเดินป่าเป็นอุปกรณ์ที่คนมองข้ามความสำคัญมากที่สุด บางคนมองว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับคนแก่ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลยครับ ไม้เท้าเป็นอุกรณ์ที่จะลดการเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อขาของคุณในทุกก้าวที่เดินไม่ว่าจะเป็นทางราบ, ทางขึ้น หรือทางลง นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณเดินได้อย่างมั่นใจในพื้นที่ ที่อาจจะลื่น, ชัน หรือข้ามน้ำ

ลองทำความเข้าใจกับประโยชน์ของไม้เท้าได้ใน VDO นี้ครับ

ไม้เท้า Leki จาก Germany ตัวเลือกที่ดีที่สุดตัวหนึ่งของไม้เท้าเดินป่า ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ไฟฉายครับ ควรจะเป็นไฟฉายคาดหัว เพราะมันจะทำให้คุณมีมือว่างทั้ง 2 ข้าง จะได้ใช้กับไม้เท้า, ปีนป่ายระหว่างเดิน,​ กางเต๊นท์, ทำกับข้าว ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณจะทำได้ยากมาถ้ามีมือข้างเดียว ไม่ต้องสว่างมากให้เปลืองถ่านครับ แต่ที่สำคัญต้องเป็นของดี ทนทานไว้ใจได้ ประหยัดพลังงาน คุณต้องการไฟฉายที่ไว้ใจพึ่งพาได้ ลองนึกดูครับว่าเดินๆอยู่กลางป่าแล้วไฟฉายที่มีอยู่ดับจะทำยังไงต่อ

มาลองดูคำแนะนำเกี่ยวกับไฟฉายคาดหัวดูครับ

ดูรายละเอียดของไฟฉายคาดหัวได้ที่นี่ครับ

ของจำเป็นลำดับต่อไปคือ พลั่วเล็กๆสำหรับขุดหลุมตอนเช้า พูดตรงๆไม่อ้อมค้อมก็คือ ขุดหลุมขี้ครับ

การขุดหลุมและฝังกลบของเสียจากร่างกายเราให้เหมาะสมและถูกวิธี เป็นเรื่องจำเป็นครับ เพื่อรักษาธรรมชาติที่สวยงามไว้ให้ทุกคนได้สัมผัส และยังป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออีกด้วย

ทำความเข้าใจกับการขุดหลุมขี้ที่ถูกต้องใน VDO นี้ครับ

หาพลั่วดีๆได้ที่นี่ครับ 

ยากันยุง กันแมลง เป็นของที่ควรมีติดไปครับ ในป่ามีแมลงหลายๆอย่างที่รอกัดกินเนื้อนุ่มๆขาวๆของคนเมืองอย่างเรา ตั้งแต่ยุงที่อาจจะทำให้เป็นมาลาเรียได้ ตัวคุ่นที่กันแล้วคันเป็นเดือน ฯ

เท่าที่ผมลองใช้มาสรุปเลยครับ ว่ามียากันแมลงยี่ห้อเดียวที่ใช้ได้ดีในป่าคือยี่ห้อ Wild Lives ครับ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ตะเกียง ให้แสงสว่างส่วนรวมของแค้มป์ เป็นจุดศูนย์รวมของวงอาหารมื้อค่ำและวงสนทนา

ตะเกียงที่ใช้เวลาเดินป่า อาจจะเป็นตะเกียงแก๊สขนาดเล็กที่ใช้แก๊สกระป๋องร่วมกับเตาที่คุณใช้อยู่ หรือจะเป็นตะเกียงแบตเตอรี่ LED ก็ได้ ลองดูตัวอย่าง 2 ตัวนี้นะครับ

ตะเกียง Primus Micron Lantern ให้แสงสว่างสดใสในแค้มป์ ดู Primus Micron Lantern ได้ที่นี่ครับ

ตะเกียง PrincetonTec Helix ใช้ง่ายพกพาสะดวก ดูตะเกียง PrincetonTec Helix ได้ที่นี่ครับ 

มีดเป็นอีกอย่างที่ควรมีติดตัวเข้าป่าครับ คุณอาจจะคิดว่าคงไม่ได้ใช้อะไร แต่ในป่าคุณจะได้ใช้อะไรที่ไม่ได้คิดไว้ก่อนเสมอ อาจจะไม่ต้องเล่มใหญ่โตให้หนักนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเดินในเส้นทางที่มีคนเดินอยู่แล้วหรือมีผู้นำทางซึ่งหมายความว่าคุณไม่ต้องถางทาง ลองดูตัวอย่างของมีดที่เหมาะที่จะมีติดตัวไปนะครับ

Leatherman Signal มัลติทูลที่ออกแบบมาเพื่อนักเดินป่าโดยเฉพาะ มีอุปกรณ์ที่จำเป็นครบถ้วน ดูรายละเอียดที่นี่ครับ

มีด Mora จากสวีเดน เป็นมีดราคาประหยัดที่คุณภาพเกินราคาไปมาก ราคามันจับต้องได้ชนิดที่นักเดินป่าทุกคนควรจะโยนใส่เป้ติดไว้คนละเล่มเป็นอย่างน้อย ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

Opinel มีดพับเล็กๆสวยๆจากฝรั่งเศษ ที่ไม่สร้างความรู้สึกคุกคามให้กับคนที่เห็น เหมาะมากสำหรับนักเดินทางผู้หญิงที่จะมีติดตัวไปทุกที่ครับ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

ผ้าเช็ดตัว บางครั้ง (ย้ำว่าบางครั้ง) เราอาจจะมีโอกาสได้อาบน้ำ อาจจะเป็นในห้วยที่แสนสุขสันต์ การมีผ้าเช็ดตัวติดไปสักผืนเป็นของควรทำครับ ไม่ต้องแบกผ้าเช็ดตัวใหญ่ๆหนักๆไปนะครับ เดี๋ยวนี้มีผ้าเช็ดตัวไมโครไฟเบอร์ที่เล็ก เบา และแห้งง่าย

ผ้าเช็ดตัว Packtowl Ultralite คือผ้าเช็ดตัวที่เล็กและเบาที่สุดเท่าที่จะหาได้ครับ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

นกหวีด เป็นของที่ควรมีติดเป้ไว้ครับ เพราะถ้าหากคุณหลงทาง สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ หยุดอยู่กับที่และส่งเสียงเรียกคนอื่นๆ อย่าเดินไปโดยไม่รู้ทางนั่นจะทำให้คุณหลงไปไกลขึ้น นกหวีดคืออุปกรณ์ที่จะส่งเสียงไปได้ไกลที่สุดในป่าครับ ดูรายละเอียดของนกหวีดได้ที่นี่ครับ

ที่จุดไฟ ถ้าคุณจะจุดไฟไม่ว่าจะจุดเตาหรือจุดกองไฟ อุปกรณ์ที่ไว้ใจได้มากที่สุดคือแท่งจุดไฟครับ เพราะมันใช้งานได้เสมอไม่ว่าจะเปียกอย่างไร อย่าไปไว้ใจไฟแช็คนะครับเปียกนิดเดียวก็จุดไม่ติดครับ ดูแท่งจุดไฟได้ที่นี่ครับ

ของอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้จำเป็น แต่ควรหัดใช้และมีไว้คือเข็มทิศครับ

เข็มทิศดีๆราคาไม่ได้แพง ในภาพนี้เป็นของ Brunton

ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ามี GPS ก็เพียงพอแล้วสำหรับการนำทางหรือเดินป่า เรื่องนี้ไม่จริงเลยครับ

ถ้าหากเรามี GPS แต่ไม่มีแผนที่แสดงความสูงของพื้นที่ (Topographic Map) GPS จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะเราจะบอกไม่ได้ว่าเราอยู่ตรงไหนของพื้นที่และเราควรจะไปทางไหน แต่หากคุณมีเข็มทิศและเรียนรู้ที่จะใช้มันประกอบกับแผนที่ คุณจะสามารถอ่านพิกัดที่อยู่และกำหนดทิศทางเดินได้เร็วกว่าใช้ GPS เสียอีก

ลองดู VDO อันนี้เพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นดูและหาเข็มทิศติดไว้สักอันนะครับ ถ้าคุณไปเดินในรายการ Fjallraven Thailand Trail เราจะมีแผนที่แจกให้ด้วยครับ

ของอย่างอื่นนอกจากนี้ก็จะมีของใช้ส่วนตัว เช่นแปรงสีฟัน, ยาสีฟัน,​ สบู่และยาสระผม(ซึ่งผมใช้ของเพื่อนเสมอ),​กระดาษทิชชู่ (กรุณาหลีกเลี่ยงการใช้ทิชชู่เปียกซึ่งไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ) ยาประจำตัว และชุดปฐมพยาบาล

ของอะไรที่เปียกน้ำแล้วเราเดือดร้อนเช่นชุดนอน, ผ้าห่ม ฯ ควรแพ็คไว้ในถุงกันน้ำอีกทีก่อนใส่ในเป้นะครับ อย่าไปไว้ใจอากาศในป่า เพราะฝนอาจจะตกลงมาตอนไหนก็ได้ หรือเราก็อาจจะตกน้ำไปเอง และอย่าเชื่อในเรื่องการกันน้ำของเป้ หรือ Rain Cover นะครับ เป้เดินป่าไม่มีใบไหนกันฝนที่ตกหนักหรือคนที่ตกน้ำแรงๆได้ครับ ดูรายละเอียดของถุงกันน้ำได้ที่นี่ครับ

ย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าของทั้งหมดควรจะจัดไว้ในเป้ไม่เกิน 40-55 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 38-50 ลิตร สำหรับผู้หญิงและน้ำหนักทั้งหมดไม่ควรเกิน 16 กิโลกรัมครับ

ถ้าเกินจากนี้รื้อกระเป๋ามาดูใหม่ครับ ว่าอะไรไม่จำเป็น หรืออะไรควรเปลี่ยนให้เล็กให้เบาขึ้น

 

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

ชีวิตผ่านไปเร็วมากและงดงาม Next Thing You Know

ผมชอบฟังเพลง Country American ครับ เพราะหลายๆเพลงมีเนื้อเพลงที่ดีมาก สามารถเล่าเรื่องราวได้ในเพลงเดียว คำพูดที่เลือกมาใช้ในเนื้อเพลงก็บรรจงคัดสรรมา บางครั้งถ้าตั้งใจฟังเพลงสักเพลงหนึ่งก็ราวกับได้อ่านหนังสือดีๆกินใจสักบท เอาเพลงนี้มาฝากกันครับ Next Thing You Know โดย Jordan Davis ตั้งใจจะเก็บเพลงนี้ไว้สำหรับวันครบรอบแต่งงานปีหน้า แต่ว่าเปลื่ยนใจ เอามาเขียนฉลองวันเกิดภรรยาผมเมื่อวานนี้ก็แล้วกันครับ Next Thing You Know เล่าเรื่องราวเหตุการสำคัญในชีวิตคู่ของใครสักคน อย่างชนิดที่ใครฟังก็คงได้ภาพของตัวเองและคนรักลอยขึ้นมาในใจ และก็คงคิดเหมือนกันว่า ทุกอย่างที่สวยงามในชีวิตนี้ช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน ขณะที่ลูกชายผมอาจจะกำลังอยู่ในเนื้อเพลงท่อนแรก...

Most Popular

%d bloggers like this: