
ASSISTANTS: PRESTON RICHARDSON, INTERN: KARIM
การจัดที่นอนในเต๊นท์ของเราให้เหมาะสมกับสภาพอากาศนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญครับ เพราะการไปเที่ยวนั้นคือการพักผ่อน ซึ่งการได้นอนหลับสนิทตลอดคืนนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ถ้าเรานอนแล้วต้องตื่นมาหนาวสั่นตอนตีสาม หรือนอนร้อนเหงื่อออกหลังแฉะ ก็คงไม่มีแรงที่จะทำกิจกรรมสนุกๆ ในวันต่อไป ดังนั้นเราควรจะเลือกถุงนอนหรือผ้าห่มให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่เราจะไปเจอครับ
เวลาเราเลือกซื้อถุงนอน สิ่งที่เราจะสังเกตกันเป็นลำดับต้นๆก็คือ Temperature Rating หรือตัวเลขที่บอกอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งานถุงนอนรุ่นนั้นๆ ซึ่งเราก็ควรจะเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของเรา ถ้าใช้ถุงนอนบางเกินไปก็หนาวสั่น ใช้ถุงนอนหนามากก็ร้อนเกินไป โดยถุงบางรุ่นก็บอกเลขตัวเดียว บางรุ่นก็มีเลขหลายตัว แล้วเลขแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร
โดยทั่วไปตัว Temperature Rating จะมีตัวเลข 3 ตัวครับ คือ Comfort Range, Transition Range และ Risk Range ครับ แต่ละตัวก็จะแปลความหมายออกมาต่างกันครับ
Comfort Range
คือช่วงอุณหภูมิที่คนทั่วไปสามารถนอนได้อย่างสบาย ไม่รู้สึกหนาว
Transition Range
คือช่วงอุณหภูมิที่คนทั่วไปเริ่มรู้สึกหนาว มีการนอนขดตัว และถือเป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถใช้ถุงนอนนี้ได้อย่างปลอดภัย
Risk Range (Extreme Range)
คือช่วงอุณหภูมิที่คนทั่วไปรู้สึกหนาวจัด แต่ความรู้สึกภายในถุงนอนและนอกถุงนอนยังคงแตกต่างกัน การใช้งานในช่วงอุณหภูมินี้มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียความร้อนของร่างกาย (Hypothermia) ไม่ควรนำไปใช้ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน
จากคำอธิบายข้างบนก็คือตัวเลขที่เราควรจะสนใจก็คือ Comfort Range เป็นหลัก สำหรับคนที่ทนหนาวเก่งหรือขี้ร้อนก็อาจจะดูที่ Transition Range ก็ได้ สำหรับถุงนอนบางรุ่นที่มี Temperature Rating แค่ตัวเดียวก็ต้องดูให้ละเอียดว่าเลขที่บอกคือตัวไหน
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าถ้าเรานอนที่อุณหภูมิ 15 องศา โดยใช้ถุงนอนที่มี comfort range ที่ 10 องศา แล้วเราจะอุ่นเสมอไป เพราะในความเป็นจริงมีตัวแปรอีกหลายๆอย่างที่ส่งผลกับความอบอุ่นของเราครับ ทั้งลม ความชื้น เสื้อผ้าที่เราใส่และความรู้สึกของแต่ละคน เพียงแต่ Temperature Rating เป็นค่ามาตรฐานที่มาจากการทดสอบในตัวแปรควบคุมที่กำหนดไว้ ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่เราอ้างอิงได้ สามารถใช้เปรียบเทียบกันระหว่างถุงนอนแต่ละรุ่นได้ พอเราเอาไปใช้จริง ความรู้สึกก็อาจจะแตกต่างออกไปบ้าง แต่ก็ต้องบอกว่าอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงพอสมควร
อุณหภูมิเย็นสบายๆ ประมาณ 20 องศาขึ้นไป
ที่อุณหภูมิประมาณนี้ อย่างแรกเลย ก่อนที่จะไปเรื่องถุงนอนที่เราคุ้นเคยกัน อย่างหนึ่งผมอยากจะแนะนำก็คือการใช้ผ้าห่มครับ หลายคนอาจจะคิดว่าไปนอนเต๊นท์ ก็ต้องนอนถุงนอนสิ จะเป็นอย่างอื่นไปได้อย่างไร ต้องบอกเลยว่าสำหรับตัวผมเองนั้น ชอบที่จะใช้ผ้าห่มมากกว่า เพราะผมเป็นคนนอนค่อนข้างดิ้น ดังนั้นการใช้ผ้าห่มทำให้ผมมีพื้นที่ในการขยับตัวที่มากกว่าถุงนอน
Thermarest Stella Blanket ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
Thermarest Proton Blanket ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
หลายคนอาจจะคิดว่าถ้าเรานอนด้วยผ้าห่มจะหนาวหลังหรือด้านล่างมั้ย เพราะต่างจากถุงนอน ผ้าห่มจะไม่มีผ้าด้านล่างที่รองอยู่ใต้ตัวเรา ในความเป็นจริงแล้วถ้าเรานอนบนแผ่นรองนอนนั้น ตัดเรื่องนี้ไปได้เลย เพราะตัวแผ่นรองนอนที่ดีจะเป็นตัวสะท้อนความร้อนและให้ความอบอุ่นด้านล่างอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ต้องกังวลครับ นอกจากนั้น ผ้าห่มและแผ่นรองนอนของ Thermarest เองก็จะมีชุด Snap Kit ที่ทำให้เราสามารถยึดผ้าห่มเข้ากับแผ่นรองนอนได้อีกด้วย
Thermarest Snap Kit ชุดตัวยึดผ้าห่มเข้ากับแผ่นรองนอน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ข้อดีอีกอย่างของผ้าห่มก็คือ เราสามารถเอาผ้าห่มมาใช้นอกเต๊นท์ได้ด้วย เช่นเวลานั่งผิงไฟเราก็เอา ผ้าห่มมาคลุมตัวได้ แล้วก็ผ้าห่มบางรุ่นนั้นสามารถนำมาใส่เป็นเสื้อหนาวได้อีกต่างหาก ทำให้เป็นอุปกรณ์ที่สารพัดประโยชน์และลดจำนวนของที่เราต้องเอาติดตัวไป
Honcho Poncho ผ้าห่มแบบที่เปลี่ยนเป็นเสื้อหนาวได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดังนั้น ถ้าเราไปในที่ที่ไม่หนาวมาก อาจจะอุณหภูมิตอนกลางคืนประมาณ 20 องศา การนอนด้วยผ้าห่ม ถือเป็นทางเลือกที่ดีมาก ทั้งสะดวกและสบาย สำหรับใครที่เคยนอนแต่ถุงนอน ต้องลองดูครับ แล้วคุณอาจจะไม่อยากนอนในถุงนอนอีกเลย ก็เป็นได้ครับ
ผ่านเรื่องผ้าห่มไปแล้ว คราวนี้ไปต่อกันที่เรื่องถุงนอนบ้าง ในอุณหภูมิประมาณนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงนอนที่หนามาก เราสามารถเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของเรา ขึ้นอยู่กับว่าจะไปเดินป่าหรือไปแค้มป์คาร์ ถ้าต้องเดินก็แน่นอนว่าต้องเลือกถุงนอนที่ขนาดเล็กและน้ำหนักเบาหน่อย
Cozy/C15 ถุงนอนหนานุ่มของ Coleman Japan รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่นี่
Coleman Traveller C15 รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่นี่
อากาศหนาวปานกลาง 10-20 องศา
ที่อุณหภูมิประมาณนี้ สำหรับใครที่ชอบนอนด้วยผ้าห่มก็อาจจะใช้ผ้าห่มในรูปแบบที่เรียกว่า Quilt ก็ได้ ซึ่งจะเป็นผ้าห่มแบบที่มี foot box สามารถสวมยึดเข้ากับแผ่นรองนอนได้ ให้ความอบอุ่นได้มากกว่าผ้าห่มแบบธรรมดา มีวัสดุด้านในที่ดีกว่าและหนากว่า
Thermarest Corus HD Quilt ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
หรือถ้าเป็นถุงนอนก็มีหลายรุ่นหลายแบบให้เลือก อย่าลืมมองเรื่องการใช้งานของเราด้วย ว่าเป็นในกิจกรรมลักษณะไหน หรืออาจจะมองหาถุงนอนที่มีฟังก์ชั่นพิเศษก็ได้
ถุงนอน Coleman Cornet ถุงนอนแบบยื่นมือและเท้าออกมาได้ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่นี่
อากาศหนาวจัดต่ำกว่า 10 องศา
ถุงนอนที่ใช้ในอากาศหนาวจัด จะมีวัสดุด้านในสองแบบเป็นหลักก็คือเส้นใยสังเคราะห์และขนห่าน ทั้งสองวัสดุมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ลองมาเปรียบเทียบกันดู
ความอบอุ่นต่อน้ำหนัก
ขนห่านนั้นให้ค่าความอบอุ่นต่อน้ำหนักที่ไม่มีเส้นใยสังเคราะห์อะไรเทียบได้ และมีความฟูที่มากกว่า ดังนั้นในถุงนอนที่ให้ Temperature Rating เดียวกัน ถุงนอนที่ใช้ขนห่านจะมีน้ำหนักเบาและสามารถม้วนเก็บได้ขนาดเล็กกว่าถุงนอนใยสังเคราะห์ ฉะนั้นถ้าคุณต้องเดินทางระยะไกลที่น้ำหนักทุกกรัมมีความหมาย ถุงนอนขนห่านเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแน่นอน
ถุงนอนขนห่าน Thermarest Altair ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
การดูดซับน้ำ
ในเรื่องแน่นอนว่าใยสังเคราะห์นั้นได้เปรียบเพราะใยสังเคราะห์ตระกูลโพลีเอสเตอร์นั้นไม่ดูดน้ำและแห้งได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่สามารถเคลือบขนห่านด้วยสารกันน้ำจนได้เป็นขนห่านแบบ Hydrophobic ทำให้ถุงนอนขนห่านในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในเรื่องนี้ที่ดีขึ้นมาก อาจจะยังไม่เทียบเท่าใยสังเคราะห์แต่ก็ทำให้เราใช้งานได้โดยไม่ต้องกังวล
ถุงนอนใยสังเคราะห์ Thermarest Saros ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ต้องยอมรับว่าราคาของถุงนอนที่เป็นขนห่านนั้นสูงกว่าถุงนอนใยสังเคราะห์พอสมควร แต่ด้วยคุณภาพและความนุ่มสบายที่มากกว่า และน้ำหนักที่เบากว่า สำหรับการเดินทางไปในที่หนาวๆ ยังไงถุงนอนขนห่านนั้นก็ดีกว่าแน่นอนครับ
เหมือนกับกันใช้งานของอื่นๆครับ การเลือกให้เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนอาจจะคิดว่าก็เลือกอันที่ Temperature Rating ต่ำสุดไว้ก่อน ยังไงก็คุ้ม หนาวก็ห่ม ร้อนก็เอาออก ซึ่งจะคิดแบบนั้นก็ไม่ผิดครับ แต่อย่าลืมว่าถุงนอนยิ่งหนา ขนาดก็ยิ่งใหญ่ น้ำหนักก็ยิ่งมาก และราคาก็ยิ่งสูง ลองพิจารณากันดูครับว่า ถุงนอนหรือผ้าห่มรุ่นไหนที่จะเหมาะกับเราและคุ้มค่ามากที่สุด
[…] […]
[…] […]