Monday, May 29, 2023
Homeชีวิตและการเดินทางมนุษย์เดินช้า ที่ "หิมาลัย" ตอน 3 - 4

มนุษย์เดินช้า ที่ “หิมาลัย” ตอน 3 – 4

-

IMG_0414

“Trekking in the NEPAL HIMALAYA”

ตอนที่ 3 : “ก้าวแรกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม”

เราถึงที่ “LUKLA” สนามบินที่เล็กที่สุด เท่าที่เราเคยเจอ รันเวย์เป็นเหมือนแล้มสเก็ตบอร์ด ไว้ช่วยเบลคเครื่องบินลำจิ๋วนี้ให้เบาพอจะเลี้ยวหักซอกเข้าจอดแบบยูเทิร์นเตรียมบินออกอีกครั้ง เราปลดเข็มขัดแล้วเดินออกมานอกเครื่องบิน สัมผัสแรกคือไอเย็นเหมือนเราเปิดตู้แช่ปลาพัดวูบเข้ามาจนกระชับเสื้อแนบอกแทบไม่ทัน เราหันมาสบตากันแล้วหัวเราะ ต่างก็คิดในใจ “หนาวชิบหาย” โดยที่เราไม่รู้เลย ว่านั่นคืออากาศที่ร้อนที่สุดที่เราจะเจอแล้วในทริปนี้

IMG_0424

เราถึง Lukla เช้ามาก พร้อมทั้งกองทัพไกด์และลูกหาบที่พยายามจะโน้มน้าวให้เราเป็นลูกค้า ด้วยความตื่นกลัวเล็กน้อย เราหอบเป้มาหลบทำใจอยู่ในร้านกาแฟชื่อเดียวกับร้านเจ้าประจำของเราที่เมืองไทย แว๊บแรกที่เห็นภายในร้านก็รู้สึกได้ทันทีว่า LUKLA กำลังถูกความเป็น “เมือง” ของคนต่างถิ่นอย่างเราๆ แทรกซึมทีละน้อย

IMG_0404

IMG_0400

หลังจากหอบเป้หนักอึ้งหลบหนาวมาที่นี่ และได้กาแฟอุ่นๆ ไปหนึ่งแก้ว สติที่กระจัดกระจายก็กลับเข้าที่เข้าทาง เราเริ่มติดต่อครอบครัวและเพื่อนๆ ให้รู้ถึงความเป็นไปว่าเราอยู่รอดปลอดภัยและจะหายไปอีกกี่วัน

IMG_0399

IMG_0407

เราเตรียมน้ำและของจำเป็นนิดหน่อย และเริ่มออกเดินผ่านประตูทางเข้าเส้นทางสู่เอเวอเรสอย่างเป็นทางการในเวลา 9:00 น. เป็นเวลาที่ฟ้าสดใสและใจแข็งแรงที่สุด เดินไปพร้อมรอยยิ้มและเสียงหัวเราะบ้างในบางครั้ง อะไรๆก็ดูสวยงามและน่าตื่นเต้นไปหมด

IMG_0408

IMG_0417 IMG_0412

ด้วยความที่เรามากันแค่สองคน “ไม่มีลูกหาบ ไม่ได้จ้างจามารีแบกของ ไม่มีไกด์ เหมือนคนอื่นเค้า” ไม่ใช่เพราะเราเก่งเหนือใคร หรือเปรี้ยวอยากจะเท่ แต่ค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายเพิ่มในส่วนนี้ต่างหาก ที่ทำให้เราเลือกจะแบกของกันไปเอง

IMG_0411

แต่ข้อดีของการเดินแค่ 2 คนคือ ทำให้เรามีเวลาเหลือเฟือที่จะทำตามใจ อยากหยุดตรงไหนก็หยุด อยากนั่งมองวิวข้างหน้านานๆ ก็ทำได้ รวมทั้งนั่งมองดอกซากุระสีชมพูอ่อนค่อยๆ ล่วงตามแรงลมแบบไม่รู้จักหมดตั้งนานสองนาน

IMG_0442

เราเดินผ่านหมู่บ้านหลายสิบหลังคาเรือน ที่แต่ล่ะหลังล้วนมาจากการสร้างด้วยมือตัวเองจากการยกหินมานั่งสกัดทีล่ะก้อนจนได้หินทรงสี่เหลี่ยมเพียงพอจะเรียงได้เป็นบ้านหนึ่งหลัง ความพยายามและความมานะของคนที่นี่ รับรองว่าไม่เป็นสองรองใคร

IMG_0437

จากบ้านเรือนมากมาย เราต้องเดินผ่านสะพานแขวนที่ทอดยาวจากภูเขาหนึ่งลูกข้ามเหวไปสู่ภูเขาอีกหนึ่งลูก บอกได้เลยว่าครั้งแรกมักยากเสมอและครั้งแรกครั้งนี้ก็ยากจะให้ใจเราไม่สั่นไปตามแรงเหวี่ยงของสะพานเหล็กยาวเหยียดสะพานนี้ได้เลย

IMG_0444

IMG_0449

ตอนที่ 4 :” คืนแรก ที่ PHAKDING ”

IMG_0470

IMG_0452

หลังจากเดินอย่างสบายอกสบายใจมา 5 ช.ม เราก็ถึงจุดหมายแรกที่เราเลือกไว้ ” Phakding” รวมระยะทางที่เราเดินมาจากลุกลาก็ไม่ไกลมากคือประมาณ 8กิโลกว่าๆ

IMG_0463

เราพักที่โรงแรมเล็กๆที่หนึ่งที่ทำให้เราตกใจตอนถามราคาห้อง ห้องพักที่นี่ราคา 100 รูปี หรือคิดเป็นเงินไทยคือประมาณ 34 บาท ใช่! คุณอ่านไม่ผิด 34 บาท เจ้าของหน้าตาใจดีพาเราวิ่งปรู๊ดขึ้นชั้น 2 พร้อมยื่นกุญแจห้องเย็นเจี๊ยบให้เราเป็นเจ้าของในคืนนี้ ในห้องราคา 100 รูปี มีเตียงให้ 2 เตียงชิดฝั่งซ้ายและขวาของห้องบวกทางเดินตรงกลางแบบพอดีตัว บนเตียงมีผ้าที่เคยเป็นสีขาวมาก่อนผืนบางๆคลุมไว้พร้อมหมอนสีเดียวกับผ้าคลุมเตียงอีก 1 ใบ. หัวเตียงเป็นกระจกแนวตรงสามบานที่เราไม่จำเป็นต้องเปิดถูกคลุมไว้ด้วยผ้าม่านบางๆ 2 ฝั่ง และนั่นคือทั้งหมดที่มีในห้องนี้

IMG_0527 IMG_0520
เราหัวเราะกับสิ่งที่เห็นพร้อมปลดเป้ที่หนักอึ้งบนไหล่เราวางปลายเตียง สิ่งแรกที่เราหยิบออกมาคือถุงนอนและของใช้จำเป็น นั่นไม่ได้รวมถึงอุปกรณ์อาบน้ำเพราะที่นี่ไม่มีให้อาบ

IMG_0518 IMG_0517
เราลงมานั่งสูดอากาศ13องศาตอนบ่าย2 จากที่กำลังเย็นสบาย ลมก็เริ่มแรงและพระอาทิตย์ก็หนีงานตั้งแต่บ่าย3โมงกว่า นั่นจึงทำให้เรารู้สึกแล้วว่าคืนนี้เราต้องเจอกับอะไร

IMG_0525

เราเตรียมอาหารมาแต่เราก็ตัดสินใจกันแล้วว่าเราจะสั่งทางโรงแรมมาทานเพราะละอายใจกับราคาที่พักซ่ะเหลือเกิน ระหว่างที่รออาหาร. ป้าเจ้าของใจดีก็จุดเตาเหล็กทรงโบราณกลางห้องให้เราได้อุ่นสบาย

IMG_0538 IMG_0539
เราทานอาหารและขึ้นนอนตอนหนึ่งทุ่ม อากาศหลังไร้แสงอาทิตย์หนาวกว่าที่เราคิดมากนัก และห้องที่เราอยู่ก็ไม่ได้ทำให้เรารอดพ้นจากอากาศภายนอกได้เลย สิ่งเดียวที่เราพึ่งได้ตอนนี้คือถุงนอน ที่ทำให้เราผ่านคืนนี้ไปได้อย่างอุ่นสบาย
เราหลับสนิทในคืนแรกพร้อมตื่นมาด้วยความสดใส โดยไม่ได้สังหรณ์ใจเลยว่า พรุ่งนี้ เราต้องเจอกับอะไรบ้าง….

IMG_0531

Rabbit

**ตอนที่ 5 รอแป๊บน่ะค่ะ**

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

The Outsiders

ในเวลาหนึ่งผมเคยเขียนในบทความไว้ว่า “หมู่บ้านในนิทาน” หรือ “Shangri-la” ในนวนิยายเรื่อง Lost Horizon ของ James Hilton นั้นมีอยู่จริงในมุมเล็กๆของโลกใบนี้ หลายคนได้ค้นหามันจนเจอ แต่แล้วพวกเขาก็เป็นคนทำให้มันสูญหายไปด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนให้หมู่บ้านในนิทานนั้นให้ “ดีขึ้น” โดยการนำสิ่งที่เขาคิดว่าดีงาม จากที่ที่เขาคุ้นเคยเข้าไป การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ การถ่ายเทวัฒนธรรมในโลกใบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณและยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วขึ้นในทุกวันนี้ด้วยการเดินทางและการสื่อสารในยุคใหม่ แต่สิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาสู่สังคมที่คงสภาพเดิมมาอย่างผาสุขยาวนานย่อมมีทั้งดีและไม่ดี และที่สำคัญหลายคนที่พยายามนำมันเข้าไปอาจจะไม่เคยถามคนดั้งเดิมของสังคมว่ามันเป็นประโยชน์ให้กับพวกเขาแค่ไหน เขาต้องการมันหรือไม่

Salmon Fishing ที่นอร์เวย์

ผมรัก Fly Fishing เพราะมันพาผมไปอยู่ในที่สวยที่สุดในโลกหลายๆแห่งที่น้อยคนจะได้เห็น ครั้งนี้มันพาผมไปตกปลาแซลม่อนที่แม่น้ำที่งดงามของ Norway ผมได้ไปสัมผัสกับเรื่องราวของปลาแซลม่อนที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งของโลกใบนี้ แต่คนเรากลับมองข้ามความสำคัญของมันและทำลายความอุดมสมบูรณ์ที่ล้ำค่านี้ไปจนเหลือเพียงเศษเสี้ยวของที่เคยมีในอดีต

Fly Fishing Yellowstone

ทริปตกปลาที่ Yellowstone National Park ที่ที่หลายคนเรียกว่า Shangri-la ของนักตกปลาเทร้าท์

นิตสารที่เรารัก

เพื่อนๆหลายคนก็อาจจะเป็นเช่นเดียวกับผม ที่เติบโตมากับ “นิตยสาร” ในโลกของสังคม Online วันนี้ ดูเหมือนว่า “นิตยสาร” จะค่อยๆลดบทบาทลง ค่อยๆหายไปจาก “แผงหนังสือ” ที่ทะยอยหายไปพร้อมๆกัน ในขณะที่สื่อ Online โดดเด่นมากในเรื่องของความรวดเร็วในการนำเสนอและอิสระเสรีภาพของการเผยแพร่ความรู้และความคิด แต่ใช่หรือไม่ว่า หลายๆครั้งที่เราอ่านสื่อ online เราคงมีคำถามบางอย่างค้างคาอยู่ในใจ เกี่ยวกับที่มาและความน่าเชื่อถือของสิ่งที่เราอ่านนั้น ผมเองยังเชื่อว่านิตยสารยังคงมีคุณค่าเฉพาะตัวของมันอยู่บนเส้นแกนคุณค่าของสื่อ  พื้นที่ระหว่างสื่อ Online ที่รวดเร็วและเผยแพร่ได้เร็ว กับหนังสือดีๆที่ต้องใช้เวลาคัดสรร เรียบเรียงอาจจะเป็นแรมปีกว่าจะออกมาให้เราอ่านกันได้ นิตยสารเป็นสื่อที่อยู่ตรงกลาง นิตยสารดีๆสักเล่มหนึ่ง จะมีแนวทางที่ชัดเจนและยึดมั่นในคุณค่าส่งที่เขานำเสนอ จนพวกเราคนอ่านสามารถสัมผัสได้...

Most Popular

%d bloggers like this: