Monday, December 11, 2023
Homeความคิดและมุมมองเบื้องหลังภาพสวยๆของ Ansel Adams

เบื้องหลังภาพสวยๆของ Ansel Adams

-

ผมได้มาเยี่ยมเยียน Ansel Adams gallery ใน Yosemite Valley อีกครั้งผมได้มาที่นี่ครั้งแรกและรู้จักชื่อของ Ansel Adams ด้วยคำแนะนำของเพื่อน Patrick Chuenrudeemol

เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ในครั้งแรกนั้นผมเพียงรู้สึกทึ่งกับภาพถ่ายธรรมชาติที่สวยงามแบบที่ผมไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

ในช่วงเวลานับสิบปีหลังจากนั้นมาผมจึงได้สนใจหาหนังสือของ Ansel Adams มาอ่าน หลงไหลคลั่งไคล้ไปกับอุปกรณ์และเทคนิคที่เขาใช้ ไม่ว่าจะเป็นกล้องฟิล์มขนาดใหญ่ เทคนิคการถ่ายภาพและล้างอัดภาพขาวดำที่เขาเขียนไว้ในตำรา หวังว่าจะผลิตภาพธรรมชาติสวยๆออกมาบ้าง ฝันแม้กระทั่งอยากจะมี gallery เล็กๆในที่สวยๆแบบนี้บ้าง

ผ่านไปสามสิบปี ไม่ใกล้เลยครับ

มาครั้งนี้ผมได้หนังสือใหม่มาอีกหนึ่งเล่ม ชื่อ Ansel Adams in Yosemite Valley เมื่อได้มานั่งเปิดดู คราวนี้ผมไม่ได้เพียงทึ่งกับภาพสวย, อุปกรณ์ หรือเทคนิคของเขามากเท่ากับสิ่งที่เห็นได้ชัดกว่า คือความมุ่งมั่นครับ

ต่างจากหนังสือเล่มอื่นที่ผมเคยเห็นที่มักจะรวมภาพสวยๆของ Ansel จากที่ต่างๆมาไว้ด้วยกัน เล่มนี้เป็นการรวมรูปภาพจาก Yosemite Valley ตั้งแต่เขาเริ่มถ่ายภาพ ผมจึงได้เห็นภาพที่เขาถ่ายในจุดเดิมๆตั้งแต่ยุค 20 มาจนกลายเป็นภาพที่โด่งดังที่เรารู้จักกัน บางภาพอาจจะใช้เวลากว่า 40 ปี! และตลอดชีวิตเขาก็มุ่งมั่นที่จะถ่ายภาพในพื้นที่ที่เขารักคือ Yosemite Valley และ Sierra Nevada

ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับ Ansel Adams เขาเล่าว่าเขาต้องประกอบอาชีพรับจ้างถ่ายภาพอยู่เกือบตลอดชีวิตเพื่อจะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและมีโอกาสไปถ่ายภาพศิลปธรรมชาติอย่างที่เขารัก หลายสิบปีผ่านมาภาพถ่ายธรรมชาติเหล่านี้จึงจะสามารถสร้างรายได้ให้เขาอยู่ได้

ณ เวลานี้ผมถึงได้เข้าใจว่าเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของ Ansel Adams ไม่ใช่กล้อง Large Format ไม่เพียงแต่ทฤษฎี Zone Systems แต่หากเป็นความมุ่งมั่นชั่วชีวิตที่จะทำสิ่งที่เขารักให้ดีที่สุด

คุณกับผมละครับ เราเจอสิ่งที่เราจะมุ่งมั่นในชีวิตหรือยัง

สำหรับผมมันอาจจะไม่ใช่ Gallery สวยๆแล้วครับ

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

คุ้มครองแต่ไม่เคยให้คุณค่า ตอน นกกรงหัวจุก

ผมเฝ้ามองการโต้เถียงกับเรื่องนกกรงหัวจุกหรือนกปรอดหัวโขน ระหว่างฝ่ายผู้เลี้ยงนกและ “นักอนุรักษ์” มาพักใหญ่แล้วในเรื่องว่า จะให้นกกรงหัวจุกคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือจะปลดออก หลายคนคงมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่หาทางออกไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเราเปิดใจมองร่วมกันและยอมรับวิธีคิดใหม่ๆ (ที่ประเทศอื่นเขาทำกันมานานแล้ว) เรื่องของนกกรงหัวจุกอาจจะเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงให้การอนุรักษ์ของประเทศนี้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียทีนะครับ ก่อนจะเข้าเรื่องนกกรงหัวจุก ผมขอเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งมองว่ามันไม่เกี่ยวกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า พี่น้องสองคนทะเลาะกันเพราะแย่งส้มผลสุดท้ายในบ้าน ถึงขั้นตบตีกัน เสียงดังไปถึงแม่ แม่พยายามเจรจาให้แบ่งกันคนละครึ่งลูกก็ไม่มีใครยอม ต่างคนต่างบอกว่าต้องใช้ทั้งลูก นานเข้าพ่อที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ทนรำคาญเสียงไม่ได้ จึงเดินมาแยกลูกสาวทั้งสองที่เริ่มจะจิกหัวฟัดกันให้ตายไปข้างหนึ่ง แล้วถามรายละเอียด บอกพ่อหน่อยว่าจะเอาส้มไปทำอะไร  คนพี่สาวก็บอกว่าจะทำแยมส้ม ส่วนน้องสาวบอกจะทำน้ำส้ม เมื่อคุยกันเช่นนี้พ่อก็ปอกเปลือกส้มให้ลูกสาวคนโตไปทำแยม แล้วก็เอาเนื้อส้มให้ลูกสาวคนเล็กไปคั้นน้ำ ลงตัวไปได้ทั้งสองคน ส่วนพ่อก็เอาเมล็ดส้มไปปลูกไว้ข้างบ้านต่อไปจะได้ไม่ต้องแย่งส้มผลสุดท้ายกันอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราคุยกันดีๆมันจะมีทางออกที่ไม่ต้องมีคนแพ้คนชนะ แต่มันจะมองไม่เห็นเวลาทะเลาะกันจนหน้ามืด ใครยังไม่ได้ติดตามข่าวยังไม่รู้เรื่องความขัดแย้งของนกกรงหัวจุก...

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

Most Popular

%d