Saturday, December 9, 2023
Homeชีวิตและการเดินทาง"มนุษย์เดินช้าที่ หิมาลัย" ตอนที่ 2

“มนุษย์เดินช้าที่ หิมาลัย” ตอนที่ 2

-

“Trekking in the NEPAL HIMALAYA”

ตอนที่ 2 : “นมัสเต LUKLA”

เช้าวันถัดมา เราตื่นตี 3 ครึ่ง เพื่อลงมาขึ้นรถหน้าโรงแรมตอนตี 4 เพราะเรามีไฟล์บินเครื่องบินเล็กจากเมืองกาฐมัณฑุไปลงที่ลุกลา เราแบกเป้ใบเขื่องของเราลงมาแบบสบายๆ เราเรียกเด็กที่ดูแลหน้าฟร้อนด้วยเสียงเบาจนเกือบจะกระซิบให้เค้าช่วยเรียกแท็กซี่ที่บอกไว้เมื่อวานให้เราหน่อย เด็กหนุ่มกระเด้งตัวออกมาจากโซฟาและรีบเดินออกไปเรียกรถให้เราด้วยความกระตือรือล้น เรารออยู่เพียง 5 นาที ก็มีแท็กซี่ป๋องแป๋งคันจิ๋วสีเหลืองอ่อนที่คิดว่าอดีตเคยเป็นสีขาวมาก่อน มาจอดเทียบประตูโรงแรม เด็กหนุ่มหน้าฟร้อนยังคงช่วยเรายกกระเป๋าขึ้นรถจนเรียบร้อย เค้านำผ้าพันคอผืนบางมาคล้องให้เราและอวยพรให้เราเดินทางปลอดภัย เมื่อรถเคลื่อนตัวออกจากโรงแรม เรายังคงเห็นเด็กหนุ่มคนนั้นยืนมองเราจนลับสายตา

ตี4 ครึ่งเรามาถึงที่สนามบิน แท็กซี่จอดส่งเราที่ลานจอดรถมืดๆที่มองยังไงก็ไม่น่าจะใช่จุดหมายของเรา เราถามเค้าย้ำอีกครั้ง Airport? คนขับรถยังคงย้ำคำเดิมว่าใช่ พร้อมทั้งชี้ให้เราเดิมตามทางเดินมืดๆ ข้างหน้า มองเห็นลางๆเป็นเหมือนตึกร้างโทรมๆ ที่เหมือนผ่านพายุมาหมาดๆ เราตัดสินใจยกเป้ขึ้นไหล่แล้วเดินตรงไปตามทางที่เค้าบอก ทางที่เราเดินเป็นพื้นดินแฉะๆ อับๆ เมื่อเงยหน้าขึ้นไปมองด้านบน ก็เห็นเพียงหลังคาผุพังพร้อมสายไฟระโยงระยางเต็มไปหมด เราเกือบจะคิดไปเลยเถิดก็เจอฝรั่งกลุ่มใหญ่เดินตามเรามาซ่ะก่อน ทำให้เราแน่ใจ ว่าเรามาถูกทาง

IMG_0391เรายืนมองประตูที่ปิดสนิทอยู่ร่วมชั่วโมง เพราะสนามบินยังไม่พร้อมเปิดให้เราเข้า จนสุดท้ายเราได้เข้าไปเช็กอินตอนตี 5:45 ในขณะที่ไฟล์บินคือ 6:00 เช้า สิ่งที่ทำให้เราหงุดหงิดคือการแซงคิวจากบรรดาเจ้าหน้าที่ทัวร์ทั้งหลายที่ยกกระเป๋ากระแทกไหล่เราลูกแล้วลูกเล่าเพื่อให้ได้เช็กอินเร็วที่สุด

IMG_0390 IMG_0389
ถึงแม้จะวุ่นวายและทุลักทุเลแต่สุดท้ายเราก็ได้ตั๋วมาอยู่ในมือและตรงดิ่งผ่านมือคนตรวจที่รูดตัวเราตั้งแต่หัวจรดเท้าด้วยความรวดเร็วดิ่งไปขึ้นรถเมล์เก่าๆสีเขียว

IMG_0392

เพื่อไปขึ้นเครื่องบินใบพัดลำจิ๋วขนาดไม่เกิน 15 ที่นั่งที่จอดอยู่ท้ายสนามบิน เราถูกต้อนขึ้นเครื่องเหมือนคิวรถตู้ เลือกที่นั่งตามชอบใจ รัดเข็มขัดหลวมๆ และออกบินด้วยความรวดเร็ว

IMG_0396

เรายังไม่ทันหายตื่นเต้นกับลีลาการบินเฉียดเขาหลายต่อหลายลูก 30 นาทีผ่านไป ก็ถึงจุดหมายของเรา “LUKLA”

IMG_0414

 

ติดตามตอนที่ 3 เร็วๆ นี้ค่ะ

Rabbit

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

คุ้มครองแต่ไม่เคยให้คุณค่า ตอน นกกรงหัวจุก

ผมเฝ้ามองการโต้เถียงกับเรื่องนกกรงหัวจุกหรือนกปรอดหัวโขน ระหว่างฝ่ายผู้เลี้ยงนกและ “นักอนุรักษ์” มาพักใหญ่แล้วในเรื่องว่า จะให้นกกรงหัวจุกคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือจะปลดออก หลายคนคงมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่หาทางออกไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเราเปิดใจมองร่วมกันและยอมรับวิธีคิดใหม่ๆ (ที่ประเทศอื่นเขาทำกันมานานแล้ว) เรื่องของนกกรงหัวจุกอาจจะเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงให้การอนุรักษ์ของประเทศนี้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียทีนะครับ ก่อนจะเข้าเรื่องนกกรงหัวจุก ผมขอเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งมองว่ามันไม่เกี่ยวกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า พี่น้องสองคนทะเลาะกันเพราะแย่งส้มผลสุดท้ายในบ้าน ถึงขั้นตบตีกัน เสียงดังไปถึงแม่ แม่พยายามเจรจาให้แบ่งกันคนละครึ่งลูกก็ไม่มีใครยอม ต่างคนต่างบอกว่าต้องใช้ทั้งลูก นานเข้าพ่อที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ทนรำคาญเสียงไม่ได้ จึงเดินมาแยกลูกสาวทั้งสองที่เริ่มจะจิกหัวฟัดกันให้ตายไปข้างหนึ่ง แล้วถามรายละเอียด บอกพ่อหน่อยว่าจะเอาส้มไปทำอะไร  คนพี่สาวก็บอกว่าจะทำแยมส้ม ส่วนน้องสาวบอกจะทำน้ำส้ม เมื่อคุยกันเช่นนี้พ่อก็ปอกเปลือกส้มให้ลูกสาวคนโตไปทำแยม แล้วก็เอาเนื้อส้มให้ลูกสาวคนเล็กไปคั้นน้ำ ลงตัวไปได้ทั้งสองคน ส่วนพ่อก็เอาเมล็ดส้มไปปลูกไว้ข้างบ้านต่อไปจะได้ไม่ต้องแย่งส้มผลสุดท้ายกันอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราคุยกันดีๆมันจะมีทางออกที่ไม่ต้องมีคนแพ้คนชนะ แต่มันจะมองไม่เห็นเวลาทะเลาะกันจนหน้ามืด ใครยังไม่ได้ติดตามข่าวยังไม่รู้เรื่องความขัดแย้งของนกกรงหัวจุก...

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

Most Popular

%d