Saturday, December 9, 2023
Homeความคิดและมุมมองเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับน้ำผึ้ง

เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับน้ำผึ้ง

-

จากการที่ผมได้มีโอกาสมาอบรมเรื่องการเลี้ยงผึ้งก็เลยได้เก็บเกร็ดความรู้เกี่ยวกับน้ำผึ้งมาฝากกันครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะครับ แต่เป็นความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างมากเพราะจดจำมาจากผู้ชำนาญครับ ยาวหน่อยนะครับ

  1. เท่าที่ผมรู้ ไม่มีสูตรสำเร็จในการทดสอบน้ำผึ้งแท้จากน้ำผึ้งปลอมปน(เลี้ยงผึ้งด้วยน้ำตาล หรือผสมน้ำตาล) หรือน้ำผึ้งปลอมแบบปลอมแท้ๆ(น้ำตาลต้มผสมสารอื่น) การทดสอบเช่นหยดในกระดาษทิชชู่, หยดในน้ำ, ดูการแยกตกผลึกฯ ล้วนไม่สามารถบอกได้ทั้งสิ้นเพราะน้ำผึ้งแท้ๆจากดอกไม้ชนิดต่างๆจะมีคุณสมบัติต่างๆกันไป ส่วนของปลอมก็อาจจะทำเหมือนของจริงได้มากกว่าของจริงแม้กระทั่งที่ใส่ในรวงผึ้งมาก็ยังทำปลอมได้ คนที่ชำนาญจริงๆ(คนที่อยู่กับน้ำผึ้งทุกวัน) จึงจะสามารถดูและชิมออกว่าเป็นน้ำผึ้งแท้และมีอะไรปนหรือไม่ ดังนั้นอยากได้น้ำผึ้งแท้จริงทำได้อย่างเดียวคือซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้Honey 2
  2. จากข้อมูลที่ผมได้รับมาน้ำผึ้งป่าและน้ำผึ้งเลี้ยง มีส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างกัน แต่ความสะอาดของกระบวนการอาจจะแตกต่างกันมากและส่งผลถึงคุณภาพของน้ำผึ้งได้มากกว่า (อ่านข้อ 5 นะครับ) อันนี้บอกตรงๆครับว่ายังไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์นักเพราะมีตัวแปรหลายอย่างเช่นความหลากหลายของน้ำหวานที่ไม่มีข้อสรุปและมีเรื่องของความเชื่อเข้ามามีส่วนอยู่มาก
  3. การตีผึ้งป่าไม่สามารถตีผึ้งแบบอนุรักษ์ได้ครับ น้ำผึ้งจะเก็บอยู่ส่วนบนสุดของรัง การเก็บน้ำผึ้งก็คือจะต้องตัดเอามาทั้งรังไม่ใช่แค่ส่วนเดียว การตีผึ้งจะทำให้นางพญาผึ้งตายเพราะหนีไม่ทัน (ปรกตินางพญาผึ้งที่อยู่ในรังจะบินไม่ได้ยกเว้นจะมีการเตรียมตัวอพยพก่อนหลายวัน) เมื่อขาดนางพญาสังคมผึ้งนั้นก็จะล่มสลายไป
  4. น้ำผึ้งแท้จากดอกไม้ชนิดต่างจะมีสี, รส, กลิ่นต่างๆกันไป เช่นน้ำผึ้งจากดอกลำใยจะมีสีใสและหวานหอมไม่ตกผลึก น้ำผึ้งจากดอกกาแฟก็หอมนุ่มนวล น้ำผึ้งจากดอกสาบเสือก็หวานนุ่มและไม่ค่อยมีกลิ่นนัก น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันและน้ำผึ้งจากต้นยางพาราจะมีการตกผลึกได้ง่ายมากไม่ใช่ว่าเป็นน้ำผึ้งปลอมนะครับ ไม่มีการสรุปชัดเจนนะครับว่าน้ำผึ้งจากดอกอะไรจะมีประโยชน์มากกว่ากัน เอาเป็นว่าลองชิมดูว่าชอบแบบไหนครับ

    การปาดคอนผึ้งก่อนสลัดน้ำผึ้งออกจากรัง ทำให้ได้น้ำผึ้งออกมาโดยไม่ทำลายตัวอ่อนของผึ้ง
    การปาดคอนผึ้งก่อนสลัดน้ำผึ้งออกจากรัง ทำให้ได้น้ำผึ้งออกมาโดยไม่ทำลายตัวอ่อนของผึ้ง
  5. คุณภาพของน้ำผึ้งอาจจะแตกต่างกันแม้จะเก็บจากป่าหรือเลี้ยงมาด้วยวิธีการคล้ายๆกัน สิ่งที่สำคัญก็คือความชื้น,ความสะอาด และการปลอมปนของสารเคมี

ความชื้นเป็นตัวแปรสำคัญมากของน้ำผึ้ง น้ำผึ้งที่มีความชื้นต่ำกว่า 20% จะเก็บได้นานเพราะแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ น้ำผึ้งก็จะไม่บูดเสีย ปรกติผึ้งจะไปดูดน้ำหวานจากดอกไม้, แปลงด้วยเอนไซม์แล้วนำไปเก็บไว้ในช่องรวงรัง จากนั้นก็จะทำการไล่ความชื้นออก เมื่อได้ที่แน่ใจว่าจะไม่บูดเสียแล้วจึงปิดปากช่องด้วยไขผึ้ง ความชื้นของน้ำผึ้งที่ได้มาจึงขึ้นกับช่วงเวลาของการเก็บด้วยว่าเป็นเวลาทีผึ้งไล่ความชื้นเสร็จแล้วหรือยัง การตีผึ้งป่าที่ยังไม่ได้ที่ หรือการเก็บน้ำผึ้งเลี้ยงเร็วหรือถี่เกินไปก็อาจจะได้น้ำผึ้งที่มีความชื้นสูงและบูดเสียได้ นี่อาจจะเป็นที่มาส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ว่าน้ำผึ้งเดือนห้าคือน้ำผึ้งที่ดีที่สุดก็เพราะผึ้งไล่ความชื้นเสร็จแล้ว ส่วนน้ำผึ้งที่ผ่านโรงงานนั้นก็จะผ่านกระบวนการไล่ความชื้นโดยเครื่องจักรจนอยู่ในมาตรฐานความชื้นต่ำกว่า 20%

ต่อจากความชื้นก็จะเป็นเรื่องความสะอาดซึ่งจะมีผลมาจากกระบวนการเก็บน้ำผึ้ง การเก็บน้ำผึ้งป่านั้นก็หลีกเลี่ยงไม่ได้จะจะใช้การบีบคั้นน้ำผึ้งออกรังผึ้ง ในรังผึ้งนั้นนอกจากจะมีน้ำผึ้งแล้วยังมีเกสรดอกไม้, ไข่และตัวอ่อนอยู่ปนๆกันและถูกคั้นออกมาด้วยกัน และถ้าอุปกรณ์หรือพื้นที่ไม่สะอาดก็อาจจะมีเชื้อราหรือเชื้อโรคอื่นๆปนเปื้อนมาได้ง่ายๆ ส่วนน้ำผึ้งจากฟาร์มเลี้ยงแม้จะมีวิธีการสลัดน้ำผึ้งที่สะอาดกว่ามากแต่ก็อาจจะปนเปื้อนจากกระบวนการที่ไม่สะอาด หรือยาที่ใช้รักษาโรคผึ้งตกค้างอยู่ได้ หรือก็อาจจะมีน้ำตาลที่ใช้เลี้ยงผึ้งเจือปนเข้ามาอย่างกึ่งจงใจ ในฟาร์มและโรงงานใหญ่ๆจะมีการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้ก่อนที่จะรับซื้อเข้าสู่กระบวนการ

6) อายุการเก็บน้ำผึ้ง แม้จะมีความชื้นอยู่ในระดับที่ดีไม่บูด แต่การเก็บน้ำผึ้งไว้นานๆคุณค่าทางโภชนาการก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆไม่เหมือนไวน์นะครับ อายุการเก็บน้ำผึ้งไว้ก็ไม่ควรเกินหนึ่งปีแล้วกินให้หมดดีกว่าครับHoney 4

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

คุ้มครองแต่ไม่เคยให้คุณค่า ตอน นกกรงหัวจุก

ผมเฝ้ามองการโต้เถียงกับเรื่องนกกรงหัวจุกหรือนกปรอดหัวโขน ระหว่างฝ่ายผู้เลี้ยงนกและ “นักอนุรักษ์” มาพักใหญ่แล้วในเรื่องว่า จะให้นกกรงหัวจุกคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองหรือจะปลดออก หลายคนคงมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่หาทางออกไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเราเปิดใจมองร่วมกันและยอมรับวิธีคิดใหม่ๆ (ที่ประเทศอื่นเขาทำกันมานานแล้ว) เรื่องของนกกรงหัวจุกอาจจะเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงให้การอนุรักษ์ของประเทศนี้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องเสียทีนะครับ ก่อนจะเข้าเรื่องนกกรงหัวจุก ผมขอเล่านิทานให้ฟังสักเรื่องหนึ่งก่อน อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าเพิ่งมองว่ามันไม่เกี่ยวกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า พี่น้องสองคนทะเลาะกันเพราะแย่งส้มผลสุดท้ายในบ้าน ถึงขั้นตบตีกัน เสียงดังไปถึงแม่ แม่พยายามเจรจาให้แบ่งกันคนละครึ่งลูกก็ไม่มีใครยอม ต่างคนต่างบอกว่าต้องใช้ทั้งลูก นานเข้าพ่อที่นั่งเล่นของเล่นอยู่ทนรำคาญเสียงไม่ได้ จึงเดินมาแยกลูกสาวทั้งสองที่เริ่มจะจิกหัวฟัดกันให้ตายไปข้างหนึ่ง แล้วถามรายละเอียด บอกพ่อหน่อยว่าจะเอาส้มไปทำอะไร  คนพี่สาวก็บอกว่าจะทำแยมส้ม ส่วนน้องสาวบอกจะทำน้ำส้ม เมื่อคุยกันเช่นนี้พ่อก็ปอกเปลือกส้มให้ลูกสาวคนโตไปทำแยม แล้วก็เอาเนื้อส้มให้ลูกสาวคนเล็กไปคั้นน้ำ ลงตัวไปได้ทั้งสองคน ส่วนพ่อก็เอาเมล็ดส้มไปปลูกไว้ข้างบ้านต่อไปจะได้ไม่ต้องแย่งส้มผลสุดท้ายกันอีก นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าเราคุยกันดีๆมันจะมีทางออกที่ไม่ต้องมีคนแพ้คนชนะ แต่มันจะมองไม่เห็นเวลาทะเลาะกันจนหน้ามืด ใครยังไม่ได้ติดตามข่าวยังไม่รู้เรื่องความขัดแย้งของนกกรงหัวจุก...

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

Editor ใช้ Award เดินป่า โดยตาเกิ้น

พวกเราที่ ThailandOutdoor มีความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทดสอบทดลองอุปกรณ์กลางแจ้งมากมาย และก็จะมีของบางอย่างที่เราทดสอบแล้วชอบจนซื้อไว้ใช้เอง เราเรียกของเหล่านั้นว่า "Editor ใช้ Award"  และนี่คือ "Editor ใช้ Award" ปี 2022 จากตาเกิ้นครับ VDO ยาวนะครับเพราะอธิบายกันทุกอย่างรวมถึงเหตุผลที่เลือกใข้ในสถานการณ์ต่างๆกัน เราแบ่งเป็นช่วงๆให้เลือกดูกันได้ครับ ตามนี้เลย บางคนอาจจะบอกว่าผมใช้แต่ของแพงๆหรูๆ ก็อาจจะจริง หรือไม่ แล้วแต่มุมมองครับ ทุกอย่างในชีวิตเราล้วนแล้วแต่ขึ้นกับว่าเราให้ลำดับความสำคัญกับอะไร  สำหรับผมแล้ว ผมไม่ได้ซื้อของอื่นหรูหราอะไร แต่การออกมาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินป่า คือความสุขในชีวิตผม ผมจึงเลือกใข้แต่ของดีๆ...

ไปเรียนหลักสูตรปืนพกต่อสู้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ผมเขียนบทความนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2552 เขียนข้างหลังกระดาษสำเนา ป.4 (ทะเบียนปืน) ในช่องยิงทันทีที่เรียนเสร็จ เขียนด้วยความประทับใจของการสอนยิงปืนในคอร์สนี้ ถึงวันนี้แม้ว่าหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แต่ผมยังคงข้อความทุกอย่างที่เขียนในบทความนี้ไว้อย่างเดิมรวมทั้งรูปภาพเดิมที่อาจจะไม่ชัดนัก ด้วยความตั้งใจปัจจุบันโรงเรียนสอนยิงปืนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมยิงปืนเขาสามยอด ยังตั้งอยู่ที่สถานที่เดิมในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี สอนมาต่อเนื่องถึง 14 ปีแล้วถ้านับถึงวันนี้ หลักสูตรพัฒนาไปมาก และมีถึง 8 หลักสูตรให้เรียนได้ตามลำดับขั้น และยังสอนโดยหัวหน้าชุดครูท่านเดิมที่มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะให้คนไทยได้เรียนรู้การใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องผมเชื่อว่าที่นี่คือโรงเรียนสอนยิงปืนที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถเรียนได้ในประเทศไทย ผมเขียนอธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ตอนท้ายของบทความนี้ครับ ในสังคมที่บิดเบี้ยวมากขึ้นทุกวัน ดูเหมือนพวกเราสุจริตชนจะต้องเสี่ยงกับภัยคุกคามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร...

Most Popular

%d