Tuesday, September 26, 2023
Homeความเชื่อที่บ้านขอบด้ง

ความเชื่อที่บ้านขอบด้ง

-

ด้วยความที่เป็นคนที่ชอบใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและเป็นคนที่สนใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้านเลยเลือกไปใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่ใกล้ๆชาวเขาเผ่ามูเซอดำที่บ้านขอบด้งอยู่สิบวัน จริงๆแล้วไม่ได้ถึงกลับไปอยู่กินนอนกับพวกเขาหรอกแต่พอดีคุณเจตน์ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านเขาทำที่พักรีสอร์ทอยู่ติดกับหมู่บ้านเลยได้ไปใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับชาวเขาเผ่ามูเซอดำที่นั่น

บ้านขอบด้งเป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอดำที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลาหู่ (Lahu) อยู่บนดอยอ่างขางตรงเขตชายแดนไทย-พม่า ชาวเขาที่นี่ส่วนใหญ่ยังใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม บ้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเพิงยกพื้นคล้ายกระต๊อบทำด้วยไม้และเป็นหลังคามุงจาก ฝาผนังบ้านส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่ พวกเขาเลี้ยงสัตว์พื้นบ้านเช่น หมู ไก่ และหมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองในหมู่บ้าน หมูที่พวกเขาเลี้ยงจะเป็นหมูดำซึ่งหมูดำนี้จะต้องมีในหมู่บ้านแบบขาดไม่ได้ ส่วนที่เห็นในรูปข้างล่างเป็นรูปลูกหมูดำตัวเล็กๆที่กำลังน่ารักน่าชังเชียว

A4 112 (12-15-2557)a1ที่แปลกใจคือไปเจอควายที่นี่ แปลกใจเพราะที่นี่ไม่ได้ทำนาปลูกข้าวจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีควายไถนา เข้าใจว่าชาวเขาบางคนซื้อควายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาเลี้ยงเพื่อให้พวกมันออกลูกออกหลาน พอลูกควายโตแล้วก็เอาไปขายเอากำไร

A5 ดอยอ่างขาง_245a

ชาวเขาที่นี่จะทำไร่สตรอเบอรี่กันเป็นส่วนใหญ่เพราะสตรอเบอรี่เป็นผลไม้ยอดฮิตของคนที่ขึ้นมาเที่ยวบนดอยอ่างขาง สตรอเบอรี่จึงทำรายได้ให้กับพวกเขาเป็นกอบเป็นกำ ถ้าไปที่บ้านขอบด้ง พอเข้าเขตหมู่บ้านก็จะเห็นไร่สตรอเบอรี่เป็นพื้นที่ใหญ่เต็มหุบเขา ช่วงที่ไม่ใช่หน้าสตรอเบอรี่พวกเขาก็จะปลูกพืชผักสวนครัวแทน

A6 427a1การที่ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ใกล้ๆพวกเขาเลยได้เห็นว่าพวกเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร

ชาวเขาเผ่ามูเซอดำส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม แต่เทคโนโลยี่และความทันสมัยที่เกิดขึ้นในโลกก็เริ่มทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป เดี๋ยวนี้ชาวเขามีโทรศัพท์มือถือใช้ หลายบ้านมีจานดาวเทียมดูโทรทัศน์ หลายคนมีมอเตอร์ไซด์ใช้ บางคนมีรถกระบะไว้บรรทุกของ บางคนเริ่มมีบ้านตึกอยู่แทนบ้านไม้กระต๊อบแล้ว หรืออย่างน้อยหลังคาก็เปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องแล้ว

เคยอ่านเจอว่าชาวเขาเผ่ามูเซอดำมีความเชื่อและนับถือผี พวกเขามีความเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่คนในหมู่บ้านเกิดล้มป่วยลง นั่นเป็นเพราะผีบ้านหรือผีเรือนของพวกเขาโกรธหรือไม่พอใจ การที่จะทำให้ผีบ้านหรือผีเรือนหายโกรธหายไม่พอใจ พวกเขาจะต้องล้มหมูหลายตัวเพื่อนำไปบูชาผีบ้านผีเรือน พวกเขามีความเชื่อว่าทำเช่นนี้แล้วคนที่ล้มป่วยก็จะหายเป็นปกติ

มันเป็นความเชื่อที่มีมานาน สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็เคยคิดว่าความเชื่อเรื่องผีของพวกเขาคงจะหายไปกับความทันสมัยต่างๆที่ได้เข้ามาในชีวิตของพวกเขา เพราะเทคโนโลยี่การสื่อสารเดี๋ยวนี้ทำให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารเหมือนคนในเมืองได้อย่างฉับไวและรวดเร็ว จนกระทั่งวันหนึ่งผมเดินเข้าไปในหมู่บ้าน แล้วไปเจอภาพที่ทำให้ผมรู้ว่าความเชื่อเรื่องผีของชาวเขาเผ่ามูเซอดำยังคงมีอยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด

A7 130a

ช่วงประมาณบ่ายสี่โมงของวันนั้นผมเดินเข้าไปในหมู่บ้านแล้วเห็นคนในหมู่บ้านเยอะมากผิดปรกติ เห็นคนหลายคนกันช่วยเอาท่อนไม้มาจุดฟืนก่อไฟจนควันโขมงเต็มไปทั่วหมู่บ้าน เห็นแล้วก็แปลกใจว่าเกิดอะไรขึ้น ด้วยความอยากรู้อยากเห็นก็เลยเดินไปตรงที่มีคนกลุ่มใหญ่กำลังมุงทำะไรกันอยู่ สิ่งที่ได้ไปเห็นได้ไปเจอมันเป็นภาพที่ไม่ค่อยน่าดูเท่าไร เห็นชาวเขากำลังช่วยกันจับหมูดำสี่ห้าตัวมัดแข้งมัดขาและมัดปาก แล้วช่วยกันหิ้วหมูไปเชือด ผมไม่กล้าเดินตามไปดูหรอก เพราะตอนที่เดินไปเจอเหตุการณ์ตอนนั้นยังรู้สึกงงและตื่นเต้นว่าเกิดอะไรขึ้น พวกเขากำลังจะทำอะไรกับหมูพวกนี้ (มาทราบทีหลังว่าเป็นเพราะมีคนในหมู่บ้านเกิดล้มป่วย ก็เลยมีการล้มหมูเพื่อบูชาผีบ้านผีเรือน)

A9 131a

ลังเลอยู่นานว่าควรจะเดินหนีออกไปนอกหมู่บ้านหรืออยู่ดูต่อเพราะจู่ๆก็มาเจอแบบนี้ ใจหนึ่งก็บอกให้เดินออกไปจากที่นี่เถอะเพราะไม่อยากทนเห็นพวกหมูถูกเชือดถูกฆ่าอย่างทรมาน ใจหนึ่งก็บอกว่าสิ่งที่เห็นอยู่นี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้หาดูได้ง่ายๆควรจะอยู่ถ่ายรูปต่อเพราะมันเป็นวิถีชีวิตของพวกเขา

A11 132a

ถ้าเป็นคุณหล่ะ ถ้าไปเจอแบบที่ผมเจอ คุณจะทำอย่างไร

หลายคนคงจะบอกว่าถ้าเป็นตัวเองคงจะเดินหนีไปให้ไกลจากที่นั้นเพราะไม่ต้องการเห็นความทารุณที่ป่าเถื่อน ซึ่งนั่นน่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกสำหรับหลายๆคน

ส่วนผมตอนนั้นลังเลอยู่พักหนึ่งแล้วก็ตัดสินใจอยู่ดูต่อ ใจหนึ่งก็สงสารหมู จริงๆก็ไม่อยากเห็นภาพที่ไม่น่าดู เห็นแล้วมันหลอนติดตาจริงๆ ช่วยอะไรพวกหมูก็ไม่ได้ แต่อีกใจหนึ่งก็ยังอยากอยู่ดูต่อเพราะรู้ว่านี่มันเป็นวิถีชีวิตของชาวเขาที่ทำกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายของพวกเขาซึ่งเราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรมันได้

A13 133a

แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองผิดยังไงไม่รู้ที่ตัดสินใจอยู่ดูต่อ เพราะนอกจากจะอยู่ดูต่อแล้วยังเข้าไปถ่ายรูปใกล้ๆด้วย แม้กระทั่งวันนี้ยังรู้สึกผิดอยู่เลย รูปที่ถ่ายมาก็ต้องคิดแล้วคิดอีกว่าควรเอามาให้คนดูหรือไม่ ที่ต้องคิดแล้วคิดอีกเพราะรูปที่ถ่ายนั้นค่อนข้างจะดูน่ากลัวสำหรับคนบางคนและส่วนใหญ่คงจะไม่ค่อยอยากดูรูปแบบนี้ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจแบบเข้าข้างตัวเองว่ามันเป็นเรื่องวิถีชีวิตของชาวเขาที่อาจจะมีคนบางคนอยากได้รู้ได้เห็นเพราะไม่เคยได้ไปเห็นด้วยตาตนเอง

รูปที่เอามาให้ดูผมได้ทำเป็นรูปขาวดำ เพราะถ้าเอารูปสีมาให้ดูรูปบางรูปอาจจะดูน่ากลัวเกินไปสำหรับคนบางคน

ผมคงเขียนบทความไว้สั้นๆเท่านี้ ที่เหลือจะเป็นรูปที่ถ่ายไว้พร้อมคำบรรยายประกอบรูปบางรูปเท่านั้น

A15 134a

สงสารหมูเขานะ ไม่อยากเห็นพวกเขาถูกฆ่า แต่พวกเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวเขาไปแล้ว คล้ายกับวิถีชีวิตของชาวจีนที่ทุกวันตรุษจีนและวันสาร์ทจีนจะต้องมีการฆ่าหมูเป็ดไก่เซ่นไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ

A19 222a1

เนื่องจากการฆ่าหมูเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่ามูเซอดำ จึงเป็นเรื่องปรกติที่จะเห็นเด็กๆอยู่ในบริเวณที่ทำการฆ่าหมูในหมู่บ้าน

A23 149a

ภาพหลายๆภาพไม่รู้จะบรรยายอย่างไรดี ถ้าใครยังมีใจที่กล้าพอที่จะดูรูปที่เหลือก็ขอให้ดูรูปกันเองนะครับ

A25 142a1

A33 154a

สมุนไพรถูกยัดใส่่ท้องหมูให้เต็มก่อนนำเอาหมูไปย่างบนกองไฟ

A41 145a1

A47 061a1

A53 086a1

ในรูปข้างบน เด็กผู้หญิงอยากดูการย่างหมูเลยปีนขึ้นไปดูบนหลังคา

A65 104a

A71 116a3

A77 136a

A81 074a

A83 160a

A89 102

ชายคนนี้พาลูกชายมาดูการย่างหมูบนกองไฟอย่างใกล้ชิด

A95 195a2

A101 201a1

A107 230a1

ผู้เฒ่านั่งมองการเชือดหมูและการย่างหมูอย่างอารมณ์ดี

A113 214a

A129 192a2

ชายคนนี้ดูมีความสุขมาก ย่างหมูไป ยิ้มและหัวเราะไป

A135 181a

A241 187a

A247 247a

A253 243a1

A257 242a

A259 260a1

A265 241a

A271 259a3                                              สงสารหมูจัง จะไม่กินหมูอีกแล้ว

ตาเกิ้น
ตาเกิ้นhttp://takern.wordpress.com
นักสำรวจ, นักเขียน และนักเล่าเรื่อง

Leave a Reply

LATEST POSTS

นิยมไพรสมาคม และจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้หนังสือรายเดือนของ “นิยมไพรสมาคม” มาจากมิตรสหายหลายเล่มและกำลังทะยอยอ่านอย่างบรรจง (เพราะหนังสือเหล่านี้มีอายุ 65 ปี แทบจะกรอบเป็นผงอยู่แล้ว)   ผมอ่านแล้วตื่นตะลึงมากครับ ผมเคยได้ยินได้อ่านเรื่องราวของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุลมาบ้างว่าท่านสร้างสรรค์ส่งดีๆไว้มากมาย แต่ไม่เคยรับรู้เรื่องนิยมไพรสมาคมมากนัก  และดูเหมือนว่าเรื่องราวของสมาคมนี้ได้เลือนหายไปจากความรับรู้ของสังคมไทยแล้ว  เลยขอมาเล่าเรื่องหลายอย่างสู่กันฟังถึงประวัติศาสตร์สำคัญของการอนุรักษ์ในบ้านเราที่กำลังจะลืมเลือนไป ในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยยังไม่รู้จักกับคำว่า “อนุรักษ์” ใดๆเลย (ในหนังสือก็ยังไม่มีคำนี้) ตอนนั้นใครอยากจับจองที่ตรงไหนก็ไปแจ้งที่อำเภอแล้วก็ลงมือถาง สัตว์ป่าทุกชนิด (ยกเว้นช้าง) ไม่มีกฎหมายอะไรคุ้มครอง ใครอยากล่าอะไรด้วยวิธีไหน...

ชีวิตผ่านไปเร็วมากและงดงาม Next Thing You Know

ผมชอบฟังเพลง Country American ครับ เพราะหลายๆเพลงมีเนื้อเพลงที่ดีมาก สามารถเล่าเรื่องราวได้ในเพลงเดียว คำพูดที่เลือกมาใช้ในเนื้อเพลงก็บรรจงคัดสรรมา บางครั้งถ้าตั้งใจฟังเพลงสักเพลงหนึ่งก็ราวกับได้อ่านหนังสือดีๆกินใจสักบท เอาเพลงนี้มาฝากกันครับ Next Thing You Know โดย Jordan Davis ตั้งใจจะเก็บเพลงนี้ไว้สำหรับวันครบรอบแต่งงานปีหน้า แต่ว่าเปลื่ยนใจ เอามาเขียนฉลองวันเกิดภรรยาผมเมื่อวานนี้ก็แล้วกันครับ Next Thing You Know เล่าเรื่องราวเหตุการสำคัญในชีวิตคู่ของใครสักคน อย่างชนิดที่ใครฟังก็คงได้ภาพของตัวเองและคนรักลอยขึ้นมาในใจ และก็คงคิดเหมือนกันว่า ทุกอย่างที่สวยงามในชีวิตนี้ช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน ขณะที่ลูกชายผมอาจจะกำลังอยู่ในเนื้อเพลงท่อนแรก...

ต้นแบบของสุภาพบุรุษกลางแจ้ง

จาก อลัน ควอเตอร์เมน จนถึง รพินทร์ ไพรวัลย์ และ Indiana Jones ถ้าจะพูดถึงชื่อหนึ่งที่มีบทบาทเป็นตัวอย่างของสุภาพบุรุษกลางแจ้งมานับร้อยๆปี ก็คงต้องเล่าถึง อลัน ควอเตอร์เมน ครับ อลัน ควอเตอร์เมน (Allan Quatermain) เป็นตัวละครเอกในนิยายเรื่อง King Solomon’s Mine ที่เขียนโดยนักเขียนชาวอังกฤษ H. Rider Haggard (Sir...

The Outsiders

ในเวลาหนึ่งผมเคยเขียนในบทความไว้ว่า “หมู่บ้านในนิทาน” หรือ “Shangri-la” ในนวนิยายเรื่อง Lost Horizon ของ James Hilton นั้นมีอยู่จริงในมุมเล็กๆของโลกใบนี้ หลายคนได้ค้นหามันจนเจอ แต่แล้วพวกเขาก็เป็นคนทำให้มันสูญหายไปด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนให้หมู่บ้านในนิทานนั้นให้ “ดีขึ้น” โดยการนำสิ่งที่เขาคิดว่าดีงาม จากที่ที่เขาคุ้นเคยเข้าไป การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ การถ่ายเทวัฒนธรรมในโลกใบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณและยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วขึ้นในทุกวันนี้ด้วยการเดินทางและการสื่อสารในยุคใหม่ แต่สิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาสู่สังคมที่คงสภาพเดิมมาอย่างผาสุขยาวนานย่อมมีทั้งดีและไม่ดี และที่สำคัญหลายคนที่พยายามนำมันเข้าไปอาจจะไม่เคยถามคนดั้งเดิมของสังคมว่ามันเป็นประโยชน์ให้กับพวกเขาแค่ไหน เขาต้องการมันหรือไม่

Most Popular

%d bloggers like this: